Football Sponsored

จากฮาลันด์ถึงเทรนท์! 9 สถิติโลกกินเนสส์ที่ 9 แข้งดังเป็นเจ้าของ – บทความฟุตบอลต่างประเทศ – SMMSPORT

Football Sponsored
Football Sponsored

จากความสำเร็จด้านกีฬาของเออร์ลิ่ง ฮาลันด์ ไปจนถึงผลกระทบในทันทีของ นิคลาส เบนท์เนอร์ นี่คือสถิติโลกเก้ารายการที่นักฟุตบอลคนดังเป็นเจ้าของและคุณอาจไม่รู้

            การเป็นเจ้าของสถิติโลกกินเนสส์บุ๊ค หรือหนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ไม่ใช่สิ่งที่นักฟุตบอลส่วนใหญ่เกี่ยวข้อง กระนั้นก็มีผู้เล่นเพียงไม่กี่คนที่ได้สลักชื่อของพวกเขาลงในหนังสือประวัติศาสตร์ในแบบที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว ถูกต้อง เออร์ลิ่ง ฮาลันด์ เป็นอสูรกายมาก่อนที่คุณจะรู้ว่าเขามีอยู่จริง และยังมีสถิติโลกที่เป็นชื่อของเขาตั้งแต่ตอนที่เขาอายุเพียงห้าขวบ แล้วคุณรู้มั้ยว่าผู้เล่นคนไหนของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดที่เก่งเกม Hungry Hippos? เราจะไปเช็คสถิติ 9 รายการที่เป็นเจ้าของโดยพ่อค้าแข้งคนดังและคุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน

1. เออร์ลิ่ง ฮาลันด์ : เจ้าของสถิติโลกกระโดดไกลสำหรับเด็ก 5 ขวบ

            ย้อนกลับไปในเดือนมกราคมปี 2006 ฮาลันด์ได้ทำลายสถิติโลกของการกระโดดไกลสำหรับเด็กอายุห้าขวบ ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยหากดูจากธรรมชาติการเป็นนักกีฬาของเขาในสนาม ซึ่งดาวเตะรายนี้เป็นเจ้าของสถิติกระโดดไกล 1.63 เมตรและทำให้ชื่อของเขาไปอยู่ในอันดับ 1 ของลิสต์นี้

2. อักเซล ตวนเซเบ้ : ใช้เวลาสั้นที่สุดในการเคลียร์เกม Hungry Hungry Hippos

            ถือเป็นการเข้ามาในลิสต์แบบนอกกรอบไปนิดสำหรับอักเซล ตวนเซเบ้ กองหลังของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่กลายเป็นเจ้าของสถิติโลกกินเนสส์ในปี 2018 จากการเคลียร์กระดานเกม Hungry Hungry Hippos ได้เร็วที่สุด กองหลังชาวดัตช์จบเกมอย่างรวดเร็วในเวลา 17.36 วินาทีเท่านั้น โดยยังเอาชนะอดีตเพื่อนร่วมทีอย่างโร-ฌอน วิลเลียมส์ ได้อีกด้วย

3. ทิม ฮาวเวิร์ด : เซฟได้มากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก

            เป็นผลงานในการรักษาประตูที่ยอดเยี่ยมของมือกาวชาวอเมริกันในการแข่งขันรอบ 16 ทีมสุท้าย ฟุตบอลโลก 2014 เบลเยี่ยมผ่านเข้ารอบไปด้วยการเอาชนะ 2-1 ในคืนนั้น แต่มันจะเป็นสกอร์ไลน์ที่ห่างกว่านั้นมากหากไม่ได้ฮีโร่อย่างอดีตผู้รักษาประตูเอฟเวอร์ตันซึ่งทำไป 16 เซฟในแมทช์นั้น ไม่มีผู้รักษาประตูคนใดสามารถหยุดลูกได้มากกว่านี้อีกแล้วในเกมการแข่งขันฟุตบอลโลก

4. เดเล่ อัลลี่ : เตะลูกลอดขาได้มากที่สุดใน 30 วินาที

            เดเล่ อัลลี่ กลายเป็นเจ้าของสถิติโลกกินเนสส์บุ๊คเมื่อปี  2017 จากการเตะลูกลอดขาได้มากที่สุดใน 30 วินาที จอร์จส์-เควิน เอ็นคูดู ซึ่งย้ายออกจากสเปอร์สไปเบซิคตัสในปี 2019 เป็นผู้เล่นที่ได้รับผลกรรมจากลูกเตะลอดขาของอัลลี่ที่สนามซ้อมของสเปอร์สในปี 2017

5. เทรนท์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ : กองหลังที่แอสซิสต์สูงสุดในพรีเมียร์ ลีก ใน 1 ฤดูกาล

            เทรนท์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมสำหรับทีมของเจอร์เก้น คล็อปป์ ได้นิยามบทบาทของฟูลแบ็คร่วมกับแอนดรูว์ โรเบิร์ตสัน ขึ้นมาใหม่ ดาวเตะวัย 22 ทำไป 12 แอสซิสต์ในฤดูกาล 2018/19 ซึ่งลิเวอร์พูลพลาดโอกาสในการคว้าแชมป์พรีเมียร์ ลีก ด้วยการมีคะแนนน้อยกว่าแมนเชสเตอร์ ซิตี้ แค่แต้มเดียว และด้วยเหตุนั้น ทำให้เขากลายเป็นเจ้าของสถิติโลกของกินเนสส์ แต่ได้ทำลายสถิติของตัวเองในฤดูกาลต่อมาเมื่อหงส์แดงคว้าแชมป์ในปี 2019/20 อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ทำได้ดีขึ้นอีกครั้งกับ 13 แอสซิสต์ โดยคู่หูโรเบิร์ตสัน ทำได้เท่ากับสถิติเดิมของเขาที่ 12 ครั้ง

            เมื่อพูดคุยถึงการถูกบันทึกลงในหนังสือสถิติ แบ็คขวาของหงส์แดงกล่าวว่า “รู้สึกเป็นเกียรติครับ ผมอยากจะก้าวไปข้างหน้าและช่วยทีมสร้างโอกาสให้ได้มากที่สุด” “เห็นได้ชัดว่า มันขึ้นอยู่กับนักเตะอีกคนที่จะต้องส่งลูกตุงตาข่ายเพราะฟุตบอลเป็นเกมที่เล่นเป็นทีมและหากไม่มีพวกเขาสถิตินี้คงเป็นไปไม่ได้”

6. โจน ซามูเอลเซ่น : ยิงประตูด้วยลูกโหม่งที่ไกลที่สุดในเกมฟุตบอล

            มีการยิงประตูด้วยลูกโหม่งระยะไกลหลายครั้ง แต่ โจน ซามูเอลเซ่น อดีตกองกลางชาวนอร์เวย์คือผู้นำ ครั้งนึงหลุยส์ ซัวเรซ ยิงทำประตูด้วยลูกโหม่งให้ลิเวอร์พูลที่ตรงกรอบเขตโทษ แต่ความพยายามของซามูเอลเซ่นนั้นน่าประทับใจยิ่งกว่า เขาทำประตูด้วยลูกโหม่งที่ไกลที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลด้วยความพยายามจากแดนของตัวเองในขณะที่เล่นให้กับ ออด เกรนแลนด์ เจอกับ ทรอมโซ่ ไอแอล ในเดือนกันยายน 2011 สถิติของเขาก็คือ 58.13 เมตร

7. คริสติยอง เบนเตเก้ : ยิงประตูเร็วที่สุดในในประวัติศาสตร์การแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ

            คริสติยอง เบนเตเก้ สูญเสียสัมผัสในการยิงประตูในฤดูกาลหลังๆ ที่ผ่านมา แต่ก็ยังสามารถตอบสนองอย่างรวดเร็วในปี 2016 สำหรับทีมชาติเบลเยี่ยมในการลงเล่นกับยิบรอลตาร์ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก เบนเตเก้ สามารถตัดบอลจากการจ่ายของฝ่ายตรงข้ามในตอนคิกออฟและวิ่งเข้าหาประตูฝั่งตรงข้าม เขาไม่ได้ทำผิดพลาดในการจบสกอร์ซึ่งมาถึงหลังจากเล่นไปแค่ 8.1 วินาที สถิติก่อนหน้านี้เป็นของ ดาวิเด้ กูอับติเอรี ของซาน มาริโน่ ในเกมกับอังกฤษ ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกเมื่อปี 1993

8. นิคลาส เบนท์เนอร์ : ทำประตูได้เร็วที่สุดจากการเป็นตัวสำรองในพรีเมียร์ ลีก

            นิคลาส เบนท์เนอร์ กลายเป็นวีรบุรุษประจำท้องถิ่นของอาร์เซนอล และแน่นอนว่าเขาเป็นที่รักของเดอะ กันเนอร์ส ด้วยการยิงประตูในเกมนอร์ธ ลอนดอน ดาร์บี้ ที่เจอกับ ท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ ในเดือนธันวาคม 2007 กองหน้าชาวเดนมาร์กลุกจากม้านั่งสำรองหลังอาร์เซนอลได้ลูกเตะมุมในนาทีที่ 76 โดยที่เบนท์เนอร์ก็พุ่งดิ่งไปในกรอบเขตโทษและโหม่งลูกผ่านมือพอล โรบินสัน ในอีก 6 วินาทีต่อมา สร้างผลกระทบในทันทีเลยทีเดียว

9. นาธาน พอนด์ : เล่นต่างดิวิชั่นมากที่สุดให้กับสโมสรเดียว

            ถือเป็นการเดินทางที่น่าทึ่ง นาธาน พอนด์ กองหลังชาวอังกฤษผู้เล่นให้กับเอเอฟซี ฟิลด์ ทีมในเนชันนัล ลีก นอร์ท ซึ่งเป็นลีกฟุตบอลระดับกึ่งอาชีพในอังกฤษ ดาวเตะวัย 36 ได้เลื่อนชั้น 6 ครั้งใน 10 ฤดูกาลกับฟลีตวู้ด ทาวน์ โดยปรากฏตัวใน 7 ดิวิชั่นต่อไปนี้: นอร์ท เวสต์ คันทรีส์ ลีก เฟิร์สต์ ดิวิชั่น, นอร์ทเทิร์น พรีเมียร์ลีก ดิวิชั่น 1, นอร์ทเทิร์น พรีเมียร์ลีก พรีเมียร์ดิวิชั่น, เนชันนัลลีกนอร์ท (คอนเฟอเรนซ์นอร์ท), คอนเฟอเรนซ์พรีเมียร์, ลีกทู และลีกวัน

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.