เทรนต์-โรเบิร์ตสันเบอร์2ทั้งคู่!10อันดับแบ็กขวา-ซ้ายดีสุดในโลกยุคนี้ – สยามกีฬา
เปิด 10 อันดับแบ็กขวา-ซ้ายดีสุดในโลกยุคนี้ โดยมีแข้ง พรีเมียร์ลีก ติดมาเพียบ รวมทั้ง เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ และ แอนดรูว์ โรเบิร์ตสัน สองนักเตะ ลิเวอร์พูล ซึ่งได้ที่ 2 ทั้งคู่
โฟร์โฟร์ทู นิตยสารฟุตบอลเล่มดัง จัดอันดับแบ็กขวาที่ดีที่สุดในโลก ณ เวลานี้ โดยยกให้ ชูเอา กานเซโล่ ของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เป็นเบอร์ 1 ตามมาด้วย เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ของ ลิเวอร์พูล
นอกจากนั้น โฟร์โฟร์ทู ยังจัดอันดับแบ็กซ้ายดีสุดในโลกลูกหนังยุคนี้ โดยให้ อัลฟอนโซ่ เดวิส ของ บาเยิร์น มิวนิค เป็นเบอร์ 1 ตามมาด้วย แอนดรูว์ โรเบิร์ตสัน ของ ลิเวอร์พูล
10อันดับแบ็กขวาดีสุดในโลก
1. ชูเอา กานเซโล่ (แมนฯ ซิตี้)
2. เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ (ลิเวอร์พูล)
3. อาชราฟ ฮาคิมี่ (อินเตอร์ มิลาน)
4. คีแรน ทริปเปียร์ (แอต.มาดริด)
5. เลโอ ดูบัวส์ (โอลิมปิก ลียง)
6. ไคล์ วอล์คเกอร์ (แมนฯ ซิตี้)
7. ฮวน กวาดราโด้ (ยูเวนตุส)
8. รีซ เจมส์ (เชลซี)
9. ฟาเบียน ซ็องตงซ์ (เม็ตซ์)
10. เซอร์จินโญ่ เดสต์ (บาร์เซโลน่า)
10อันดับแบ็กซ้ายดีสุดในโลก
1. อัลฟอนโซ่ เดวิส (บาเยิร์น มิวนิค)
2. แอนดรูว์ โรเบิร์ตสัน (ลิเวอร์พูล)
3. เตโอ เอร์นานเดซ (เอซี มิลาน)
4. แฟร์กล็องด์ เมนดี้ (เรอัล มาดริด)
5. ลุค ชอว์ (แมนฯ ยูไนเต็ด)
6. ราฟาเอล เกร์เรโร่ (โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์)
7. คีแรน เทียร์นี่ย์ (อาร์เซน่อล)
8. จอร์ดี้ อัลบา (บาร์เซโลน่า)
9. ลูก้าส์ ดีญ (เอฟเวอร์ตัน)
10. เบน ชิลเวลล์ (เชลซี)
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.