Football Sponsored

กางโปรแกรมอุ่นทีมบอลโลกกลุ่มไทย

Football Sponsored
Football Sponsored

ศึกฟุตบอลโลก2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง กลุ่ม จี จะกลับมาทำการแข่งขันกันในช่วงระหว่าง 3-15 มิ.ย.64 ที่ประเทศสหรัฐอาหรับ เอมิเรสต์(ยูเออี) สำหรับสถานการณ์ของกลุ่ม จี ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม จี เวียดนาม อันดับ 1 ลงเล่น 5 นัด มี 11 แต้ม , มาเลเซีย อันดับ 2 ลงเล่น 5 นัด มี 9 แต้ม ,ไทย อันดับ 3 ลงเล่น 5 นัด มี 8 แต้ม ,ยูเออี อันดับ 4 ลงเล่น 4 นัด มี 6 แต้ม และ อินโดนีเซีย อันดับ 5 ลงเล่น 5 นัด ไม่มีแต้ม

    ล่าสุดทุกทีมที่อยู่ในกลุ่ม จี   ต่างออกมาเดินเครื่องในการเดินหน้าเตรียมทีมกันอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการวางแผน ก่อนที่จะถึงโปรแกรมการแข่งขันจริง ซึ่งทุกทีมในกลุ่มนี้ทั้ง  เวียดนาม,มาเลเซีย,ไทย,ยูเออี และ อินโดนีเซีย วางคิวอุ่นเครื่องกันถ้วนหน้า แม้ว่าเจ้าถิ่นยูเออี จะยังไม่ประกาศทีมอุ่นเครื่องชัดเจนก็ตามแต่คาดการณ์ว่าจะมีเกมอุ่นเครื่องอีกอย่างน้อย 2 เกม ก่อนที่จะเข้าทัวร์นาเมนต์จริง นี่คือโปรแกรมอุ่นเครื่องของเหล่าทีมในกลุ่ม จี

    โปรแกรมอุ่นเครื่อง ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม G

    23 พ.ค.64 มาเลเซีย – คูเวต(แข่งที่บาห์เรน)

    25 พ.ค.64 ไทย –ทาจิกิสถาน(แข่งที่ยูเออี)

    25 พ.ค.64 อินโดนีเซีย-อัฟกานิสถาน(แข่งที่ยูเออี)

    28 พ.ค.64 บาห์เรน- มาเลเซีย(แข่งที่บาห์เรน)

    29 พ.ค.64  อินโดนีเซีย-โอมาน(แข่งที่ยูเออี)

    พ.ค.64 ไทย- โอมาน(แข่งที่ยูเออี-รอระบุวันแข่ง) 

    31 พ.ค.64  เวียดนาม – จอร์แดน(แข่งที่ยูเออี)

    โปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม จี

    3 มิ.ย.64 ยูเออี-มาเลเซีย / ไทย-อินโดนีเซีย

    7 มิ.ย.64 ยูเออี-ไทย / เวียดนาม-อินโดนีเซีย

    11 มิ.ย.64 อินโดนีเซีย-ยูเออี / มาเลเซีย-เวียดนาม

    15 มิ.ย.64 ยูเออี-เวียดนาม / ไทย-มาเลเซีย

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.