Football Sponsored

ฟุตซอลไทยป่วน แย่งตั๋วศึกโลกอาจชวดเล่นในบ้าน

Football Sponsored
Football Sponsored

ฟุตซอลไทยป่วน มีคิวตัดเชือกชิงแชมป์โลก เตรียมขออนุญาต “ศบค.” ฝึกซ้อม ส่วนสนามแข่ง ก็ลำบาก ที่เล็งไว้ ก็ใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม กับ ปิดปรับปรุง ไม่ไหวจริงๆ ต้องใช้สนามกลาง

อาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564 เวลา 19.28 น.

หลังจากที่ เอเอฟซี หรือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย ประกาศให้ 4 ชาติคือ ไทย,เวียดนาม,อิรัก และ เลบานอน จะต้องมาเตะเพลย์ออฟ เพื่อเฟ้น 2 ทีมสุดท้ายของทวีปเอเชียไปลุยศึกฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2021 ที่ประเทศลิธัวเนีย โดยจะจับสลากประกบคู่ในวันที่ 27 เม.ย.นี้ แข่งขันแบบเหย้า-เยือน 2 นัดในวันที่ 20 พ.ค. กับ 25 พ.ค.

“บิ๊กป๋อม” อดิศักดิ์ เบ็ญจศิริวรรณ อุปนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานพัฒนาฟุตซอลและฟุตบอลชายหาด ก็เปิดเผยว่า การฝึกซ้อมของทีมชาติไทยต้องปรึกษากับสมาคมกีฬาฟุตบอลฯด้วย เนื่องจากมีรายละเอียดพอสมควร อย่างแรกการฝึกซ้อม ต้องมีการทำเรื่องขออนุญาตจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) อย่างถูกต้องและชี้แจงถึงความจำเป็นที่ทีมชาติจะต้องแข่งเพลย์ออฟเพื่อลุ้นไปชิงแชมป์โลก 

ส่วนสถานที่ฝึกซ้อม อาจจะต้องใช้รูปแบบที่เรียกว่าบับเบิ้ล คือเป็นทั้งสถานที่เก็บตัว และฝึกซ้อมในที่เดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้นักเตะออกไปไหน หรือไปสัมผัสใครข้างนอก แล้วก็จะเข้าไปสร้างสนามซ้อมชั่วคราว  ขณะที่ นักกีฬา สตาฟฟ์ เจ้าหน้าที่ จำเป็นจะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีน และทำการตรวจหาเชื้ออย่างละเอียด

“บิ๊กป๋อม” กล่าวถึงเรื่องสนามที่จะใช้แข่งขันในฐานะเจ้าบ้านด้วยว่า สนามหลักๆได้มีการเสนอสนาม บางกอก อารีนา กับนิมิบุตรไป แต่ปรากฏว่า ทั้ง 2 สนาม กลายเป็น โรงพยาบาลสนามไปแล้ว ขณะนี้ก็ประสานงานกับสนาม อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก ก็อยู่ระหว่างการปรับปรุง อาจจะไม่ทันใช้งาน แต่ยังไงก็ขอดูผลการจับสลากในวันที่ 27 เม.ย.นี้ก่อนว่าจะแข่งวันไหน จะพยายามบริหารจัดการให้ทัน แต่ถ้าไม่มีจริงๆ จะต้องไปเล่นสนามกลางหรือไม่ ก็เป็นอีกแนวทางที่คิดไว้ในแผน.

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่

  • เห็นด้วย

    0%

  • ไม่เห็นด้วย

    0%

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.