ว่าที่โค้ช! ‘วรชิต’ ควงเพื่อนอบรมหลักสูตรโค้ชเบื้องต้น
ว่าที่โค้ช! ‘วรชิต’ ควงเพื่อนอบรมหลักสูตรโค้ชเบื้องต้น
“ยิม”วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ และ ณัฐยศ พลเยี่ยม 2 แข้ง “ฉลามชล” ชลบุรี เอฟซี ผ่านการอบรมหลักสูตรพื้นฐานการเป็นโค้ช “FA Thailand Introductory Course” ช่วงระหว่างวันที่ 18-23 เมษายน ที่ผ่านมา ที่จังหวัดชลบุรี
โดย วรชิต กล่าวว่า “ถึงแม้อายุผมแค่ 24 ปี และตอนนี้ผมยังเป็นนักฟุตบอลอยู่ แต่ผมมองว่า อนาคคตไม่มีอะไรแน่นอน และ ช่วงนี้ผมก็ว่างด้วย ผมก็อยากมารู้อะไรที่ไม่เคยรู้ สมัยเด็กผมอาจจะยังไม่รู้ ในศาสตร์ฟุตบอลมากพอ แต่พอมาเรียนก็ได้รู้รายละเอียดมากขึ้นครับ เพราะรายละเอียดบางอย่าง เกี่ยวกับฟุตบอล ผมอาจจะขาดความรู้ไป จึงทำให้บางอย่าง ผมก็ ไม่เข้าใจ แต่พอผมได้มาอบรม และ เรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นโค้ช สิ่งนี้มันทำให้เราสามารถไปสอนน้องๆในทีมได้ และ ผมก็เอารายละเอียดที่ผมเรียนรู้มา มาพัฒนาตัวผมเอง เพราะรายละเอียดส่วนลึกของฟุตบอลนั้น มันเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการเป็นนักฟุตบอลอาชีพครับ”
สำหรับ “ยิม” วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ มิดฟิลด์ ชลบุรี เอฟซี วัย 24 ปี เป็นเด็กอคาเดมี่ ชลบุรี รุ่นแรกอย่างเป็นทางการของสโมสรฯ และวรชิตยังมีชื่ออยู่ใน 47 คน ของทัพ “ช้างศึก” ทีมชาติไทย ที่เตรียมจะเข้าแคมป์กับเพื่อนร่วมทีมชาติไทย ในเดือน พฤษภาคม นี้ เพื่อตัดตัวให้เหลือ 23 คนสุดท้าย ก่อนเกมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกที่กำลังจะมาถึง
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.