Football Sponsored

‘ช้างศึก’ฉีดวัคซีนพร้อมลุยคัดบอลโลก

Football Sponsored
Football Sponsored

วันพฤหัสบดี ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.

ความเคลื่อนไหว ทัพ “ช้างศึก” ทีมชาติไทย ที่เตรียมสู้ศึก ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก 3 นัดสุดท้าย ที่ประเทศ สหรัฐอาหรับเอมิเรตท์ ในช่วงวันที่ 3-15 มิ.ย. นี้

ล่าสุดเมื่อวันพุธที่ผ่านมา  อากิระ นิชิโนะ กุนซือทีมชาติไทย ได้นำลูกทีม พร้อมด้วยสต๊าฟโค้ช และ เจ้าหน้าที่  ได้เข้ารับการฉีดวัคซีน ป้องกันเชื้อโควิด-19 เข็มแรก ณ สถาบันบําราศนราดูร ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะฉีดต่อเนื่องเข็มที่สอง อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์

โดย นักฟุตบอลชายทีมชาติไทย มีโปรแกรมเข้าเก็บตัวฝึกซ้อม ชุดแรกในวันที่ 3 พฤษภาคมนี้ คือ นักกีฬากลุ่มแรก ที่ไม่ได้ลงทำการแข่งขันฟุตบอลช้าง เอฟเอคัพ 2020 ซึ่งจะเข้าตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ในวันที่ 30 เมษายน และเข้าแคมป์ ในวันที่ 3 พฤษภาคม

ส่วน กลุ่มที่สอง นักกีฬาที่มาจาก 4 สโมสรที่ลงแข่งขันฟุตบอลช้าง เอฟเอคัพ 2020 ประกอบด้วย ชลบุรี เอฟซี, สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด จะเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในวันที่ 7 พฤษภาคม และเข้าแคมป์ในวันที่ 10 พฤษภาคม        

สำหรับ ทีมชาติไทย จะเดินทางไปยูเออี ในวันที่ 21 พฤษภาคม และมีโปรแกรมอุ่นเครื่อง 2 นัด ในวันที่ 25 พฤษภาคม และ 29 พฤษภาคม ก่อนทำการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 โดยมีโปรแกรมการแข่งขันดังนี้ วันที่ 3 มิถุนายน 2564  ทีมชาติไทย พบ อินโดนีเซีย ,วันที่ 7 มิถุนายน 2564  ทีมชาติไทย พบ ยูเออี ,วันที่ 15 มิถุนายน 2564 มาเลเซีย พบ ทีมชาติไทย

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.