Football Sponsored

‘ก้องศักด’ ยัน ‘ช้างศึก’ ขอวัคซีนโควิดได้ ก่อนบุก ‘ยูเออี’ ลุยคัดบอลโลก 3 นัดท้าย

Football Sponsored
Football Sponsored

‘ก้องศักด’ ยัน ‘ช้างศึก’ ขอวัคซีนโควิดได้ ก่อนบุก ‘ยูเออี’ ลุยคัดบอลโลก 3 นัดท้าย

จากกรณีที่ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) ตัดสินใจเลือกประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เป็นเจ้าภาพสนามกลางสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่มจี ซึ่งมี “ช้างศึก” ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย อยู่ในกลุ่มดังกล่าว และจะต้องเดินทางไปแข่งขันช่วงระหว่างวันที่ 3-15 มิถุนายนนี้นั้น

ผู้สื่อข่าวสอบถาม “บิ๊กก้อง” ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ถึงโอกาสที่นักฟุตบอลทีมชาติไทยจะได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ก่อนเดินทางไปแข่งขัน ได้รับคำตอบว่า ตอนนี้ทุกสมาคมฯ นั้นมีสิทธิที่จะขอรับวัคซีนได้หมด ซึ่งทางกกท. ได้ประสานงานกับแต่ละสมาคมฯ ให้ส่งโปรแกรมการแข่งขันเข้ามา เพื่อจะประสานกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อกำหนดวันในการเข้ารับวัคซีน

ผู้ว่าการกกท. กล่าวต่อว่า ทางกกท.ได้มีหลักเกณฑ์ในการเข้ารับวัคซีนอยู่ ไม่ใช่ว่าทุกรายการจะได้ทั้งหมด โดยนักกีฬาที่จะได้รับวัคซีนนั้นจะต้องเข้าแข่งขันรายการที่เป็นมหกรรมสำคัญ ไปในนามทีมชาติไทย เช่นโอลิมปิกเกมส์ หรือรายการชิงแชมป์โลก ชิงแชมป์เอเชีย ซึ่งอย่างฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก ก็ถือว่าอยู่ในข่ายที่สามารถขอรับวัคซีนได้ เพราะเป็นตัวแทนทีมชาติไทยเดินทางไปแข่งขัน ดังนั้นทีมฟุตบอลทีมชาติไทยก็จะสามารถรับวัคซีนก่อนเดินทางไปยูเออีได้

สำหรับ “ช้างศึก” ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ยังเหลือโปรแกรมอีก 3 นัด ได้แก่ วันที่ 3 มิถุนายน พบ อินโดนีเซีย, วันที่ 7 มิถุนายน พบ ยูเออี และวันที่ 15 มิถุนายน พบ มาเลเซีย

โดยตอนนี้ทีมชาติไทยอยู่อันดับ 3 ของกลุ่ม มี 8 คะแนน จาก 5 นัด ตามหลังจ่าฝูง เวียดนาม ที่มีอยู่ 11 คะแนน และอันดับ 2 มาเลเซีย มี 9 คะแนน ส่วนยูเออี อยู่อันดับ 4 มี 6 คะแนนจาก 4 นัด และอินโดนีเซีย รั้งบ๊วยของกลุ่ม ยังไม่มีคะแนน

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.