ปี 2023 ดูเหมือนจะเป็นปีที่วุ่นวายพอสมควรสำหรับฟุตบอลเอเชีย เพราะนอกจาก ฟุตบอลโลกหญิง 2023 หรือแม้แต่ WAFF Championship 2023 (ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตก) ที่ประเทศไทยได้รับเชิญให้เข้าร่วมแล้ว ยังมีทัวร์นาเมนต์ระดับ A+ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของทวีปเอเชียเราอีกรายการหนึ่งด้วยนั่นคือ “เอเชียน คัพ 2023” นั่นเอง
การแข่งขันในรายการน้ีจะจัดแข่งขันกันทุก ๆ 4 ปีเช่นเดียวกับทัวร์นาเมนต์ใหญ่ระดับทวีปรายการอื่น ๆ ซึ่งเดิมทีทัวร์นาเมนต์นี้จะลงทำการแข่งขันกันในวันที่ 16 มิถุนายนถึง 16 กรกฎาคม 2023 แต่ด้วยการที่เจ้าภาพอย่างประเทศจีน ประสบปัญหาเรื่องโควิด-19 รวมถึงนโยบายของรัฐบาลจีนที่ยังไม่เหมาะกับการจัดมหกรรมกีฬา ทำให้ กาตาร์ เจ้าภาพฟุตบอลโลกถูกเลือกให้ทำหน้าที่แทน แต่ด้วยสภาพอากาศร้อนจัดช่วงเดือนดังกล่าวและการที่ กาตาร์ ถูกเชิญไปเข้าร่วมการแข่งขันรายการ คอนคาเคฟ โกลด์ คัพ (ชิงแชมป์ทวีปอเมริกาเหนือ) ในช่วงเวลาเดียวกัน อาจส่งผลให้ อาเซียน คัพ ถูกเลื่อนไปแข่งขันช่วงต้นปี 2024 ต่อไป
เอเชียนคัพ 2023 แข่งที่ไหน ?
อย่างที่ได้กล่าวไปว่าเดิมทีเป็นคิวของประเทศจีนที่ได้รับสิทธิเป็นเจ้าภาพ แต่ด้วยความไม่พร้อมทำให้ต้องมีการคัดเลือกเจ้าภาพกันใหม่โดยมีรายชื่อของ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ อินโดนิเซีย และ กาตาร์ ซึ่งในเวลาต่อมา ออสเตรเลีย และ อินโดนิเซีย ตัดสินใจถอนตัวจากการคัดเลือก จนสุดท้ายก็เป็น กาตาร์ ที่ได้รับการคัดเลือกให้จัดการแข่งขันในปีนี้
การแข่งขันในรอบสุดท้ายปีนี้ได้ครบทั้ง 24 ทีมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังมีการคัดเลือกกันตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019 เป็นต้นมา โดยมีทีมอย่าง ทาจิกิสถาน ที่เพิ่งจะเคยเข้าร่วมรายการนี้เป็นครั้งแรก รวมทั้ง อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย ที่หนล่าสุดต้องย้อนกลับไปครั้งล่าสุดเมื่อ 16 ปีก่อน เช่นเดียวกับ ฮ่องกง ที่เคยเข้ามาเล่นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1968 เลยทีเดียว โดยทั้ง 24 ชาติประกอบด้วย…
ประเทศ | จำนวนครั้งที่เข้าร่วมการแข่งขัน | จำนวนครั้งที่คว้าแชมป์ |
---|---|---|
กาตาร์ | 11 | 1 |
ญี่ปุ่น | 10 | 4 |
ซีเรีย | 10 | – |
เกาหลีใต้ | 15 | 2 |
ออสเตรเลีย | 5 | 1 |
อิหร่าน | 15 | 3 |
ซาอุดิอาระเบีย | 11 | 3 |
สหรัฐ อาหรับ เอมิเรตส์ | 11 | – |
จีน | 13 | – |
อิรัค | 10 | 1 |
โอมาน | 5 | – |
เวียดนาม | 5 | – |
เลบานอน | 3 | – |
ปาเลสไตน์ | 3 | – |
อุซเบกิสถาน | 8 | – |
ไทย | 8 | – |
อินเดีย | 5 | – |
ฮ่องกง | 4 | – |
ทาจิกิสถาน | – | |
คีร์กิซสถาน | 2 | – |
บาห์เรน | 7 | – |
มาเลเซีย | 4 | – |
จอร์แดน | 5 | – |
อินโดนิเซีย | 5 | – |
รูปแบบการแข่งขัน
รอบคัดเลือกจะให้สิทธิทีมที่สามารถเข้าถึงรอบ 12 ทีมสุดท้ายในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกได้สิทธิเข้าไปเล่นโดยอัตโนมัติ ส่วนที่เหลือต้องมาแบ่งกลุ่มคัดเลือกอีก 12 โควต้าที่เหลือต่อไป
ส่วนในรอบสุดท้ายรอบแรกจะแบ่งเป็น 6 กลุ่มกลุ่มละ 4 ทีม โดยแต่ละทีมจะมีโอกาสลงเล่น 3 เกมเท่า ๆ กัน ซึ่งอันดับ 1 และ 2 จะผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ส่วนอันดับ 3 ที่ดีที่สุด 4 จาก 6 ทีมจะได้เข้ารอบเช่นเดียวกัน ส่วนตั้งแต่รอบ 16 ทีมสุดท้ายเป็นต้นไปนั้นเป็นการแข่งขันแบบน็อคเอาท์นัดเดียวรู้ผลไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ
1956 – เกาหลีใต้
1960 – เกาหลีใต้
1964 – อิสราเอล
1968 – อิหร่าน
1972 – อิหร่าน
1976 – อิหร่าน
1980 – คูเวต
1984 – ซาอุดิอาระเบีย
1988 – ซาอุดิอาระเบีย
1992 – ญี่ปุ่น
1996 – ซาอุดิอาระเบีย
2000 – ญี่ปุ่น
2004 – ญี่ปุ่น
2007 – อิรัก
2011 – ญี่ปุ่น
2015 – ออสเตรเลีย
2019 – กาตาร์
สถานการณ์ของทีมชาติไทย
รอบแบ่งกลุ่มจะจับสลากกันในวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2023 นี้
สนับสนุนบทความของแท้ไม่ก็อปปี้ต้อง 90min.com เท่านั้น!*ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความหรือรูปภาพไม่ว่าวิธีใดๆ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามกฏหมายที่ระบุไว้สูงสุด