ลงตัว คัดบอลโลกโซนเอเชีย 3 นัดท้าย กลุ่มไทย แข่ง 31 พ.ค.-15 มิ.ย. ยังไม่ระบุเจ้าภาพ
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม G ที่ทีมชาติไทยมีโปรแกรมแข่งขัน 3 นัดสุดท้าย จะกำหนดแข่งขันในวันที่ 31 พ.ค.-15 มิ.ย. โดยยังไม่ระบุเจ้าภาพ
ความเคลื่อนไหวการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม G ที่ทีมชาติไทย มีคิวลงแข่งขัน 3 นัดสุดท้าย และได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า โปรแกรมนัดที่เหลือจะไปแข่งขันในช่วงเดือนมิถุนายนทั้งหมด
ล่าสุด สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย หรือ เอเอฟซี ได้กำหนดโปรแกรมการแข่งขันอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะแข่งขันในช่วงระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม ถึง 15 มิถุนายนนี้ ส่วนโปรแกรมอย่างเป็นทางการจะมีการระบุอีกครั้ง
ขั้นตอนหลังจากนี้ เอเอฟซี จะเรียกทั้ง 5 ชาติในกลุ่ม G เพื่อพิจารณาหารือถึงการตัดสินใจร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ พร้อมทั้งหารือในเรื่องของสนามกลาง หรือเจ้าภาพที่จะสามารถจัดการแข่งขันอีกด้วย และจนถึงตอนนี้ยังไม่ได้มีการระบุเจ้าภาพจัดการแข่งขันแต่อย่างใด.
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.