Football Sponsored

ที่หนึ่งไม่ใช่ฮาลันด์! ท็อป10แข้งพรีเมียร์ลีกค่าตัวประเมินแพงสุด

Football Sponsored
Football Sponsored

ซีไออีเอส ฟุตบอล อ็อบเซิร์ฟวาโทรี่ ยกให้ ฟิล โฟเด้น เป็นเจ้าของค่าตัวประเมินแพงสุดในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ มากกว่า เออร์ลิ่ง เบราท์ ฮาลันด์ เพื่อนร่วมทีมที่ตามมาเป็นอันดับสองเท่านั้น

ฟิล โฟเด้น มิดฟิลด์จาก แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ได้รับการประเมินจาก ซีไออีเอส ฟุตบอล อ็อบเซิร์ฟวาโทรี่ สถาบันวิเคราะห์สถิติชื่อดังให้เป็นนักเตะที่มีค่าตัวประเมินแพงสุดในพรีเมียร์ลีกเวลานี้ ด้วยมูลค่าสูงถึง 200.5 ล้านยูโร (ประมาณ 7,175 ล้านบาท)

ขณะที่ เออร์ลิง ฮาลันด์ หัวหอกชาวนอร์เวย์ของ “เรือใบสีฟ้า” ตามมาเป็นอันดับสอง โดยมีค่าตัวประเมินอยู่ที่ 174.9 ล้านยูโร (ประมาณ 6,259 ล้านบาท)

ส่วนอันดับสามก็ยังคงเป็นแข้งจากแชมป์เก่าพรีเมียร์ลีกอย่าง โรดรี้ โดยมีค่าตัวประเมินอยู่ที่ 117 ล้านยูโร (ประมาณ 4,187 ล้านบาท) ทำให้สามอันดับแรกนั้นมาจากลูกทีมของ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า ทั้งสิ้น 

10 อันดับนักเตะพรีเมียร์ลีกค่าตัวประเมินสูงสุด

1.ฟิล โฟเด้น (แมนฯ ซิตี้) – 200.5 ล้านยูโร (ประมาณ 7,175 ล้านบาท)

2.เออร์ลิ่ง เบราท์ ฮาลันด์ (แมนฯ ซิตี้) – 174.9 ล้านยูโร (ประมาณ 6,259 ล้านบาท)

3.โรดรี้ (แมนฯ ซิตี้) – 117 ล้านยูโร (ประมาณ 4,187 ล้านบาท) 

4.หลุยส์ ดิอาซ (ลิเวอร์พูล) – 109.7 ล้านยูโร (ประมาณ 3,900 ล้านบาท) 

5.บูคาโย่ ซาก้า (อาร์เซน่อล) – 108.7 ล้านยููโร (ประมาณ 3,890 ล้านบาท) 

6.รูเบน ดิอาซ (แมนฯ ซิตี้) – 105 ล้านยูโร (ประมาณ 3,757 ล้านบาท)

7.ชูเอา กานเซโล่ (แมนฯ ซิตี้) – 103.6 ล้านยูโร (ประมาณ 3,707 ล้านบาท)

8.รีซ เจมส์ (เชลซี) – 99.3 ล้านยูโร (ประมาณ 3,553 ล้านบาท)

9.กาเบรียล เชซุส (อาร์เซน่อล) – 97.4 ล้านยูโร (ประมาณ 3,485 ล้านบาท)

10.บรูโน่ แฟร์นันด์ส (แมนฯ ยูไนเต็ด) – 93.6 ล้านยูโร (ประมาณ 3,349 ล้านบาท)

ที่มาของภาพ : Getty

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.