Football Sponsored

ยังทุ้มอยู่ในใจ: ย้อนฟังเพลงฟุตบอลโลกทุกเพลง ตั้งแต่ 1962-2022 | Goal.com ภาษาไทย

Football Sponsored
Football Sponsored

Ritabrata Bannerjee

|

จาก To be number one ถึง Waka จาก Ricky Martin ถึง Shakira เพลงฟุตบอลโลกเพลงไหนที่ยังทุ้มอยู่ในใจคุณตลอดมา…

ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1962 เป็นต้นมา FIFA จัดให้มีเพลงประจำการแข่งขันทุกครั้ง และมันค่อย ๆ กลายเป็นความทรงจำของแฟนลูกหนังทั่วโลกตลอด 60 ปีที่ผ่านมา

เพลงฟุตบอลโลกบางเพลงก็โด่งดังจนเป็นยิ่งกว่าเพลงประจำการแข่งขัน เช่น La Copa de la Vida หรือ The Cup of Life จากฟุตบอลโลก 1998 ที่แจ้งเกิดให้ริคกี้ มาร์ติน กลายเป็นซูเปอร์สตาร์ระดับโลก หรือ Wavin’ Flag เพลงเนื้อหากินใจของ K’Naan ศิลปินฮิปฮอปเพื่อชีวิต ที่ Coca-Cola สปอนเซอร์หลักขอให้ทำเวอร์ชันพิเศษสำหรับฟุตบอลโลก 2010 จนทำให้ทั้งเขาและเพลงเข้าถึงผู้คนอีกนับล้าน เคียงข้าง Waka Waka ผลงานของ Shakira ซูเปอร์สตาร์เพลงลาตินระดับโลก

สำหรับฟุตบอลโลก 2022 นั้นได้ Trinidad Cardona ศิลปินอาร์แอนด์บีชาวอเมริกันเชื้อสายเม็กซิกัน-แอฟริกัน มาร่วมงานกับ Davido นักร้องชาวไนจีเรีย และ Aisha Aziani นักร้องจากกาตาร์ชาติเจ้าภาพ ร่วมกันสร้างสรรค์ Hayya Hayya (Better Together) โดยคำว่า Hayya นั้นจะเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญตลอดการแข่งขันอีกด้วย

มาร่วมย้อนความทรงจำ 60 ปีของเพลงประจำการแข่งขันฟุตบอลโลกไปกับเรา

  • ฟุตบอลโลก 1962

    El Rock del Mundial

    ศิลปิน: Los Ramblers

    เจ้าภาพ: ชิลี

  • ฟุตบอลโลก 1966

    World Cup Willie

    ศิลปิน: Lonnie Donegan

    เจ้าภาพ: อังกฤษ

  • ฟุตบอลโลก 1970

    Fútbol México 70

    ศิลปิน: Los Hermanos Zavala

    เจ้าภาพ: เม็กซิโก

  • ฟุตบอลโลก 1974

    Futbol

    ศิลปิน: Maryla Rodowicz

    เจ้าภาพ: เยอรมันตะวันตก

  • ฟุตบอลโลก 1978

    El Mundial

    ศิลปิน: Buenos Aires Municipal Symphony

    เจ้าภาพ: อาร์เจนตินา

  • ฟุตบอลโลก 1982

    Mundial ’82

    ศิลปิน: Plácido Domingo

    เจ้าภาพ: สเปน

  • ฟุตบอลโลก 1986

    El mundo unido por un balón

    ศิลปิน: Juan Carlos Abara

    เจ้าภาพ: เม็กซิโก

  • ฟุตบอลโลก 1990

    Un’estate italiana (To be number one)

    ศิลปิน: Edoardo Bennato และ Gianna Nannini (เวอร์ชันอิตาเลียน) Giorgio Moroder Project (เวอร์ชันอังกฤษ)

    เจ้าภาพ: อิตาลี

  • ฟุตบอลโลก 1994

    Gloryland

    ศิลปิน: Daryl Hall และ Sounds of Blackness

    เจ้าภาพ: สหรัฐอเมริกา

  • ฟุตบอลโลก 1998

    La Cour des Grands (Do You Mind If I Play)

    ศิลปิน: Youssou N’Dour และ Axelle Red

    La Copa de la Vida (The Cup of Life)

    ศิลปิน: Ricky Martin

    เจ้าภาพ: ฝรั่งเศส

  • ฟุตบอลโลก 2002

    Anthem

    ศิลปิน: Vangelis

    Boom

    ศิลปิน: Anastacia

    เจ้าภาพ: ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้

  • ฟุตบอลโลก 2006

    Zeit dass sich was dreht (Celebrate The Day)

    ศิลปิน: Herbert Grönemeyer featuring Amadou & Mariam

    The Time of Our Lives

    ศิลปิน: Il Divo featuring Toni Braxton

    เจ้าภาพ: เยอรมัน

  • ฟุตบอลโลก 2010

    Sign of a victory

    ศิลปิน: R. Kelly featuring the Soweto Spiritual Singers

    Wavin’ Flag(Coca-Cola Celebration mix)

    ศิลปิน: K’Naan

    Waka Waka

    ศิลปิน: Shakira featuring Freshlyground

    เจ้าภาพ: แอฟริกาใต้

  • ฟุตบอลโลก 2014

    Dar um Jeito (We Will Find a Way)

    ศิลปิน: Carlos Santana featuring Wyclef, Avicii, และ Alexandre Pires

    We Are One (Ole Ola)

    ศิลปิน: Pitbull featuring Jennifer Lopez และ Claudia Leitte

    เจ้าภาพ: บราซิล

  • ฟุตบอลโลก 2018

    Live It Up

    ศิลปิน: Nicky Jam featuring Will Smith และ Era Istrefi

    เจ้าภาพ: รัสเซีย

  • ฟุตบอลโลก 2022

    Hayya Hayya (Better Together)

    ศิลปิน: Trinidad Cardona, Davido และ AISHA

    เจ้าภาพ: กาตาร์

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.