Football Sponsored

‘โพล’ระบุคนไทยไม่เชื่อ’อาเซียน’จัดบอลโลก

Football Sponsored
Football Sponsored

จากการที่ประเทศไทยร่วมกับประเทศในกลุ่มอาเซียน จะเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2034 นั้น KBU SPORT POLLโดยศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จึงสำรวจคิดเห็นเรื่อง “ประเทศไทยกับบอลโลก 2034” เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสะท้อนมุมมองสำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนากีฬาของประเทศ โดยเฉพาะการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2034

สำหรับการสำรวจดังกล่าวดำเนินการผ่านระบบออนไลน์และภาคสนาม ระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2564 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่สนใจและติดตามข่าวสารทางการกีฬาซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 1,201 คนโดยแบ่งเป็นเพศชาย 702 คน คิดเป็นร้อยละ 58.46 เพศหญิง 499 คน คิดเป็นร้อยละ 41.54 ซึ่งผลการวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ โดยภาพรวมพบว่า

โอกาสและความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 32.55 มีโอกาสค่อนข้างน้อย รองลงมาร้อยละ 29.64 มีโอกาสน้อย ร้อยละ19.09 มีโอกาสมากร้อยละ 11.52 มีโอกาสค่อนข้างมาก และร้อยละ 7.2 ไม่แน่ใจ

หน่วยงานหลักที่เหมาะกับการประสานเตรียมการเบื้องต้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 38.42 ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รองลงมาร้อยละ 24.86 ทุกหน่วยงานของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยละ 18.47 การกีฬาแห่งประเทศไทย ร้อยละ14.22 กรมพลศึกษา และอื่นๆ ร้อยละ 4.03

ประเทศในกลุ่มอาเชียนที่คาดว่าจะมีความพร้อมสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 28.04 มาเลเซีย รองลงมาร้อยละ 24.77 อินโดนีเซีย ร้อยละ 23.90 ไทย ร้อยละ 12.73 สิงคโปร์ ร้อยละ 7.31 เวียดนาม และอื่นๆ ร้อยละ 3.25

ปัจจัยสนับสนุนสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 26.18 ความพร้อมของสนามจัดการแข่งขันและสนามฝึกซ้อม รองลงมาร้อยละ 21.22 ความพร้อมที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ร้อยละ 19.57 การสนับสนุนของรัฐบาลและประชาชน ร้อยละ 17.51 ความพร้อมของงบประมาณและแหล่งทุน ร้อยละ 12.08 ความปลอดภัยและจุดขายด้านการท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ ร้อยละ 3.44 

ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 27.81 เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ/รายได้จากสิทธิประโยชน์และการท่องเที่ยว รองลงมาร้อยละ 24.38 ชื่อเสียงของประเทศ ร้อยละ 17.09 การตื่นตัวและแรงจูงใจทางการกีฬาของประชาชน ร้อยละ 14.13 สนามกีฬาและสิ่งปลูกสร้าง ร้อยละ 12.61 ความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และอื่นๆ ร้อยละ 3.98

ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในฐานะผู้ดำเนินการ KBU SPORT POLL กล่าวเพิ่มเติมว่าจากผลการสำรวจดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากีฬาฟุตบอลเป็นกีฬามหาชนที่คนทั่วโลกให้ความสนใจและหากชาติใดได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ประโยชน์ที่จะตามมาย่อมตกแก่ประเทศและสังคมส่วนรวมอย่างมากมาย โดยเฉพาะผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนมิติต่างๆ ที่หลากหลาย

แต่เมื่อพิจารณาถึงโอกาสและความเป็นไปได้สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันของประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน จะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่ามีโอกาสค่อนข้างน้อย

ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าการที่ชาติใดจะได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬารายการนี้จะต้องมีความพร้อมและองค์ประกอบตลอดจนปัจจัยสนับสนุนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมที่หลากหลาย และหากส่องไปดูประเทศที่กลุ่มตัวอย่างคาดว่าจะมีความพร้อมในการจัดการแข่งขัน ส่วนใหญ่เทไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน มากกว่าประเทศไทย

อย่างไรก็ตามการที่ประเทศไทยโดยรัฐบาลได้หยิบยกและชูประเด็นการขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2034 ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ถือได้ว่าเป็นการจุดประกายให้ฟีฟ่าตลอดจนนานาประเทศเห็นว่าชาติในอาเซียนต่างก็มีความพร้อมไม่น้อยไปกว่าชาติใด และเหนือสิ่งอื่นใดวันนี้ยังมีเวลาในการเตรียมการ หากชาติในอาเซียนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลตลอดจนประชาชน รวมทั้งมีการผนึกพลังกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โอกาสของความสำเร็จที่จะบรรลุเป้าหมายก็มีไม่น้อยเช่นเดียวกัน.

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.