Football Sponsored

กาตาร์ แบนหน้ากากมวยปล้ำ-ถอดเสื้อเชียร์บอลโลก

Football Sponsored
Football Sponsored
กาตาร์ แบนหน้ากากมวยปล้ำ-ถอดเสื้อเชียร์บอลโลก

โดย PPTV Online

เผยแพร่




กาตาร์ เจ้าภาพฟุตบอลโลก ห้ามไม่ให้แฟนบอลใส่หน้ากากมวยปล้ำแม็กซิกัน รวมถึงไม่อนุญาตให้ถอดเสื้อเชียร์ในสนาม

อีเอสพีเอ็น รายงานว่าฝ่ายจัดแข่งขันฟุตบอลโลก ส่งอีเมลขอร้องให้แฟนบอลงดสวม หน้ากากมวยปล้ำเม็กซิกัน หรือที่เรียกกันว่า “Lucha Libre” (ลูชา ลิเบร) ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของชาติตลอดช่วงแข่งขันฟุตบอลโลก

จากนั้น มีรายงานเพิ่มเติมจาก รอยเตอร์ส ระบุว่าติดต่อไปยังคณะกรรมการจัดแข่งขันฟุตบอลโลกของกาตาร์ ได้รับการชี้แจงว่าไม่มีนโยบายห้ามสวมหน้ากากดังกล่าวในฟุตบอลโลกอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมยืนยันว่าตั้งตาต้อนรับแฟนบอลเม็กซิกันในเดือนหน้า

ฟีฟ่า เผย ฟุตบอลโลก 2022 เริ่มเร็วกว่ากำหนด 1 วัน

กาตาร์ เจ้าภาพฟุตบอลโลก แนะอย่าโบกธงสีรุ้งหนุน LGBTQ+

เดนมาร์ก ออกแบบชุดบอลโลก ประท้วงเจ้าภาพเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน

ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวว่าฟีฟ่า เตือนแฟนบอลทุกทีมที่จะไปเชียร์ในฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ ให้สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม นักท่องเที่ยวต้องใส่เสื้อคลุมไหล่และเข่าในพื้นที่สาธารณะ หรือ สถานที่ราชการ ชุดว่ายน้ำอนุญาตให้ใส่ที่ชายหาดหรือ สระว่ายน้ำเท่านั้น แฟนบอลชายที่เข้าไปเชียร์ในสนาม ห้ามถอดเสื้อเชียร์เด็ดขาด เนื่องจากขัดต่อหลักศาสนาที่เคร่งครัด หากฝ่าฝืนอาจถูกปรับเงินถึง 2,400 ปอนด์ หรือประมาณ 1 แสนบาท

โดย ไนยาส อบูลราฮีมาน หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี ระบุว่า ภายในสนามแข่งขันจะมีกล้องกว่า 15,000 ตัว คอยสอดส่องพฤติกรรมแฟนบอลให้อยู่ในกฎระเบียบ หากใครมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น กระโดด

สำหรับฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ จะแข่งขันระหว่างวันที่  20 พ.ย.-18 ธ.ค.นี้

กาตาร์ ให้เจ้าหน้าที่รัฐ เวิร์ค ฟอร์ม โฮม ช่วงฟุตบอลโลก 2022

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline


Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.