Football Sponsored

ชบาแก้วพร้อมรบ! 10 ชาติชิงตั๋วบอลโลกหญิง 2023 รอบ inter-confederation play-offs | Goal.com ภาษาไทย

Football Sponsored
Football Sponsored

ชบาแก้วเตรียมชิงตั๋ว 3 ใบสุดท้าย ลุ้นลุยบอลโลกหญิง 2023 ในรอบ inter-confederation play-offs

ศึกฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2023 รอบเพลย์ออฟ inter-confederation play-offs ได้ครบ 10 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน เพื่อหาอีก 3 ทีมไปเล่นในศึกฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2023 รอบสุดท้าย ที่ประเทศนิวซีแลนด์

10 ชาติที่ต้องลงเล่นในรอบเพลย์ออฟ inter-confederation play-offs ประกอบด้วยชาติจากทวีปแอฟริกา 2 ทีม, ทวีปอเมริกาเหนือ 2 ทีม, ทวีปอเมริกาใต้ 2 ทีม, โอเชียเนีย 1 ทีม และยุโรป 1 ทีม รวมทั้งหมด 10 ทีม แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งจะมีเพียง 3 ทีมเท่านั้นที่จะได้สิทธิผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้าย โดยมีทีมเข้าแข่งขันดังนี้ (เรียงตามอันดับโลก)

โปรตุเกส – 27

ไต้หวัน – 38

ชิลี – 39

ไทย – 41

ปาปัวนิวกินี – 49

ปารากวัย – 51

เฮติ – 56

ปานามา – 57

แคเมอรูน – 59

เซเนกัล – 84

ทั้งนี้การแบ่งทีมวาง 4 ทีมแรก จะพิจารณาจากอันดับโลกล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2022 โดยแต่ละทวีปจะมีทีมวางได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น ซึ่งจากอันดับโลก 4 ทีมที่จะเป็นทีมวาง คือ โปรตุเกส, ไต้หวัน, ชิลี และปาปัวนิวกินี

โปรตุเกสจะถูกวางในสาย A, ไต้หวัน สาย B, ชิลี และปาปัวนิวกินี อยู่สาย C ขณะที่ ทีมชาติไทย แม้ว่าเรียงจากอันดับโลกจะอยู่ในอันดับที่ 4 จาก 10 ทีม แต่จะไม่ได้เป็นทีมวาง เนื่องจากไต้หวันเป็นทีมวางจากทวีปเอเชียไปแล้ว

สำหรับพิธีจับฉลากการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2023 รอบเพลย์ออฟ inter-confederation play-offs จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565 เวลา 17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งทีมที่มีอันดับโลกดีที่สุด 4 ทีม จะได้เป็นทีมวาง มีกำหนดแข่งขันที่ประเทศนิวซีแลนด์ ในระหว่างวันที่ 17-23 กุมภาพันธ์ ปีหน้า

ขณะที่ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย เคยผ่านเข้าไปเล่นในศึกฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก รอบสุดท้าย มาแล้ว 2 สมัย ในปี 2015 และ 2019

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.