Football Sponsored

10 ชุดแข่งกาตาร์ 2022 ที่ดูแย่กว่าชุดเหย้าของทัพสิงโตคำราม – บทความฟุตบอลต่างประเทศ

Football Sponsored
Football Sponsored

หลังชุดแข่งของอังกฤษที่จะใช้สำหรับฟุตบอลโลกที่กาตาร์ในปลายปีนี้หลุดออกมา หลายคนก็ออกอาการยี้กับชุดเยือนของพวกเขา แต่เชื่อมั้ยว่า ชุดที่ว่านี้ ยังไม่แย่พอที่จะอยู่ใน 10 อันดับสุดท้าย

          เสียงตอบรับสำหรับชุดแข่งฟุตบอลโลก 2022 ของอังกฤษมีทั้งดีและไม่ดี ในขณะที่แฟนๆ ทุกคนก็มีความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับดีไซน์ใหม่ของไนกี้ แต่ก็ยังมีเรื่องราวดีๆ ที่ว่าชุดเยือนนั้นกลายเป็นชุดที่แฟนบอลชื่นชมกันเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามทันทีที่ชุดใหม่ดังกล่าวหลุดออกมาทางโลกออนไลน์ก็ดูเหมือนว่าจะทำให้แฟนๆ ไม่น้อยรู้สึกขุ่นเคืองกับชุดเหย้าที่พวกเขาคาดว่าทัพสิงโตคำรามจะใส่ลงแข่งในเกมในฤดูหนาวที่จะถึงนี้

          โดยชุดแข่งชุดใหม่ที่จะใช้ในกาตาร์ 2022 นั้นปรากฏว่าชุดเหย้านั้นได้เสียงตอบรับที่ไม่ค่อยดีนักจากแฟนๆ ด้วยความพยายามที่จะเลียนแบบเสื้อแข่งอันโด่งดังของอังกฤษในปี 1996 ไนกี้ได้ผสมผสานสีขาวแบบดั้งเดิมเข้ากับการดีไซน์ช่วงไหล่ที่เป็นสีฟ้าไล่เฉดกับสีกรมท่าซึ่งกลายเป็นประเด็นที่โต้แย้งกันอย่างหนักทางโซเชียล มีเดีย และสีดังกล่าวยังถูกนำมาใช้ตรงปลายแขนเสื้อและถุงเท้า ในขณะที่กางเกงสีกรมท่าก็ยังมีขอบสีฟ้าเช่นกัน หลายคนมองว่านี่คือหนึ่งในเสื้อแข่งที่แย่ที่สุดที่จะได้เห็นในกาตาร์ 2022 ว่าแต่มันเลวร้ายที่สุดจริงๆ หรือ?

          เว็บไซต์ Football Kit Archive ได้สำรวจความคิดเห็นที่แตกต่างเหล่านั้น และเปิดโอกาสให้แฟนๆ ได้โหวตชุดแข่งที่จะใช้สำหรับฟุตบอลโลก 2022 ปรากฏว่าจากจำนวนผู้โหวต 1,400 คน ชุดแข่งของอังกฤษได้คะแนนเฉลี่ย 2.4 ดาว (จาก 5 ดาว) น่าประหลาดใจที่มันไม่ต่ำพอที่จะอยู่ใน 10 อันดับสุดท้าย งั้นเรามาลองดูกันซิว่า 10 ชุดแข่งที่ได้รับการโหวตจากผู้คนว่าแย่กว่าชุดเหย้าของทีมชาติอังกฤษนั้นมีใครบ้าง

10. ชุดเยือนคอสตาริกา

         ชุดเยือนของทีมจะเป็นสีขาว ส่วนคอวีก็ยังคงเป็นสีขาวที่ด้านหน้า แต่ด้านหลังเป็นสีน้ำเงิน แขนเสื้อยังคงเหมือนเดิมกับชุดเหย้า กางเกงขาสั้นที่เข้าคู่กับชุดเหย้าเป็นสีขาวและมีแถบสีน้ำเงินที่ด้านข้าง  ทั้งสองชุดมีตราสัญลักษณ์ทีมชาติคอสตาริกาแบบใหม่ ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคม 2021 

9. ชุดเยือนของเซเนกัล

         ชุดเยือนเซเนกัลชุดใหม่นี้ให้กลิ่นอายของความดุดัน ธงประจำชาติและตัวอักษร “Les Lions” อยู่ตรงกลาง เสริมด้วยกราฟิกปากสิงโตเป็นสัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญและความรุนแรงสมฉายา ‘สิงโตแห่งเตรังก้า’ ของพวกเขา ตัวเสื้อเป็นสีเขียว แต่ก็มีสีแดงและสีเหลืองที่คอและแขนเสื้อในขณะที่โลโก้ของสมาคมฟุตบอลของประเทศและฉายาของพวกเขานั้นเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลาง

8. ชุดเยือนของอุรุกวัย

         ตัวเสื้อพื้นฐานเป็นสีขาวมีกล่องสี่เหลี่ยมตรงกลางเป็นสีฟ้า นอกจากนี้สีฟ้ายังไปโผล่ที่แขนเสื้อและที่คอ โดยมีแถบสีฟ้าจางๆ ห้าแถบที่ลากลงมาตรงกลางเสื้อจนเจอโลโก้ตรงกลาง รวมไปถึงตราสมาคมฟุตบอล, ธงอุรุกวัย หมายเลขเสื้อถูกวางไว้ในกล่อง ในขณะที่ตรา “La Celeste” ขนาดเล็กอยู่ด้านล่างคอเสื้อที่ด้านหลัง

7. ชุดเหย้าโปรตุเกส

         เป็นครั้งแรกที่โปรตุเกสได้ออกแบบชุดเหย้ามีสองสีแบบแบ่งครึ่งต่อครึ่งแบบนี้ ดีไซน์ของเสื้อจะตัดแบ่งสีเป็นแนวทแยงมุมระหว่างสีแดงและสีเขียวเข้มซึ่งจะเป็นแบบนี้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวเสื้อ โดยสองสีดังกล่าวเป็นเอกลักษณ์ที่สื่อถึงธงประจำชาติโปรตุเกสนั่นเอง

6. ชุดเยือนกาน่า

         ตัวเสื้อเป็นสีแดง โดยมีแถบแนวตั้งตรงกลางที่เข้มกว่าเล็กน้อยที่ด้านหน้า โลโก้ของ Puma อยู่ภายในแถบดังกล่าวและเป็นสีเหลือง ขณะที่ยังปรากฏอยู่ที่แขนเสื้อแต่ละข้างอีกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของเสื้อชุดเยือนตัวนี้คือกล่องสีเหลืองที่มีขอบสีเขียวด้านหน้า กล่องเน้นสีเหลืองและมีตัวอักษรว่า ‘Ghana’ , ดาวสีดำและตราสมาคมฟุตบอลกาน่าอยู่ข้างใน นอกจากนี้ยังมีรูปทรงเรขาคณิตสีแดงและสีเขียวที่ชวนให้นึกถึงภูเขาอยู่ภายในกล่อง

5. ชุดเหย้าสหรัฐอเมริกา

         เสื้อแข่ง Nike ของสหรัฐอเมริกาในปี 2022 เป็นการผสมผสานสีดั้งเดิมของทีมอย่างขาวและกรมท่าเข้าด้วยกัน สิ่งที่โดดเด่นของเสื้อตัวนี้ก็คือตำแหน่งของ Swoosh (เส้นโค้งตวัดหางแหลม) ของ Nike ที่จะไปอยู่ที่แขนเสื้อ แทนที่จะมีโลโก้ Nike ที่ด้านหน้า สไตล์นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากเสื้ออเมริกันฟุตบอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งดีไซน์ NFL ของ Nike ตราสัญลักษณ์ทีมตรงกลางได้รับแรงบันดาลใจจากชุดบาสเก็ตบอล ในขณะที่โครงไหล่อันเป็นเอกลักษณ์มาจากการออกแบบเสื้อฮอกกี้ ปิดท้ายลุคใหม่นี้กางเกงขาสั้นสีขาวและถุงเท้าสีกรมท่า

4. ชุดเยือนสวิตเซอร์แลนด์

        ชุดแข่งที่สวิตเซอร์แลนด์จะสวมใส่ในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่กาตาร์นำเสนอการออกแบบที่ไม่เหมือนใครด้วยเสื้อพื้นฐานที่เป็นสีขาว แต่มีดีไซน์ที่ออกแบบมาคล้ายกับแอพปฏิทินของ iPhone โดย Puma ได้ออกแบบเทมเพลตที่มีหมายเลขผู้เล่นในกล่องขนาดใหญ่ที่ด้านหน้า โดยมีโลโก้สหพันธ์ฟุตบอลสวิตเซอร์แลนด์และธงอยู่ภายในแถบแนวนอนด้านล่าง โดดเด่นด้วยการไล่สีแบบฮาล์ฟโทนที่ด้านหน้า เปลี่ยนจากฐานสีขาวเป็นสีเทาอ่อนที่ด้านล่าง

3. ชุดเยือนเซอร์เบีย

         โดดเด่นด้วยการออกแบบ ‘กล่อง’ ที่ด้านหน้าซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะใส่หมายเลข ขุดเยือนจะมีสีขาวเป็นหลักโดยมีสีทองเมทัลลิกใช้สำหรับดีไซน์ด้านหน้าและโลโก้ Puma รวมไปถึงตรงคอเสื้อ ตราสหพันธ์ฟุตบอลถูกเปลี่ยนสีเป็นสีเทา, สีทอง และขาว และวางไว้ตรงกลาง ตัวอักษร SRB จะปรากฏในกล่องด้านหน้าเสื้อแข่ง 

2. ชุดเยือนอเมริกา

         โดดเด่นด้วยตำแหน่ง Swoosh (เส้นโค้งตวัดหางแหลม) ของ Nike ที่ไปปรากฏตรงแขนเสื้อ ชุดเยือนของสหรัฐอเมริกามีพื้นฐานป็นสีน้ำเงินเข้มพร้อมกราฟิกสีกรมท่าที่ไม่เหมือนกับชุดเยือนของลีดส์ฤดูกาล 2022-23 เฉลิมฉลองความหลากหลายและความเยาว์วัย โดยมีโลโก้ของประเทศอยู่ด้านหน้าและตรงกลาง 

1. ชุดเยือนแคนาดา

        แคนาดานิยมใช้ชุดเหย้าเป็นสีแดง ดังนั้นพวกเขาจึงเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อเป็นทีมเยือน โดยน่าจะยึดจากสีธงชาติของพวกเขาที่เป็นสีขาวแดง เป็นการออกแบบที่สะอาดและเรียบง่ายเน้นที่ตราสัญลักษณ์ฟุตบอลของประเทศ ซึ่งมีใบเมเปิ้ลโดดเด่นอยู่ตรงอกเสื้อ 

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.