แมนซิตี้ ใส-แมนยู 1%!ผลวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์แชมป์พรีเมียร์ฯ
เซฟไว้ดูเลยจะแม่นจริงหรือเปล่า! ผลวิเคราะห์ของพ่อมดคำนวณมอง แมนฯ ซิตี้ มีโอกาสสูงลิบที่จะเข้าป้ายคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก ขณะที่ ลิเวอร์พูล ตามมาเป็นอันดับสอง ส่วน แมนฯ ยูไนเต็ด ให้แค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
เป็ป กวาร์ดิโอล่า ผู้จัดการทีม แมนเชสเตอร์ ซิตี้ นำทัพ “เรือใบสีฟ้า” บุกไปเอาชนะ วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส 3-0 ถึงถิ่น โมลินิวซ์ กราวนด์ ในศึก พรีเมียร์ลีก เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผงาดขึ้นไปครองตำแหน่งจ่าฝูงเป็นการชั่วคราว
แมนฯ ซิตี้ ลงเตะไปแล้ว 7 นัด เก็บได้ 17 คะแนน แซง อาร์เซน่อล ขึ้นไปเป็นทีมนำ โดย “ปืนใหญ่” เตะไป 6 เกม มี 15 คะแนน และจะต้องออกไปเยือน เบรนท์ฟอร์ด ในวันอาทิตย์ที่ 18 ก.ย. นี้
ขณะที่เว็บไซต์ ไฟฟ์ เธอร์ตี้ เอจท์ ของ เนต ซิลเวอร์ นักสถิติคนดังระดับโลกชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับฉายาว่าพ่อมดคำนวณ นำข้อมูลมาประมวลเพื่อหาโอกาสเป็นแชมป์ของแต่ละทีม
ผลการประมวลออกมาว่า แมนฯ ซิตี้ จะเป็นแชมป์ 67 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วย ลิเวอร์พูล 14 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ แมนฯ ยูไนเต็ด มีโอกาสจะเข้าป้ายแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ผลวิเคราะห์โอกาสคว้าแชมป์และติดท็อปโฟร์ของแต่ละทีม
ทีม
| โอกาสติดท็อปโฟร์ (%)
| โอกาสแชมป์ (%)
|
1. แมนฯ ซิตี้
| 97
| 67 |
2. ลิเวอร์พูล
| 76 | 14 |
3. สเปอร์ส
| 56 | 6 |
4. อาร์เซน่อล
| 51 | 6 |
5. เชลซี
| 35 | 3 |
6. ไบรท์ตัน
| 25 | 2 |
7. แมนฯ ยูไนเต็ด
| 25 | 1 |
หมายเหตุ: ทีมที่เหลือมีโอกาสคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.