Football Sponsored

ศึกลูกหนังชิงแชมป์อาเซียน 2022 ส่อไร้ VAR ช่วยตัดสิน หลังบางชาติไม่พร้อม

Football Sponsored
Football Sponsored

ศึกลูกหนังชิงแชมป์อาเซียน 2022 ส่อไร้ VAR ช่วยตัดสิน หลังบางชาติไม่พร้อม

ความเคลื่อนไหวของการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน “เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็คทริก คัพ 2022” ในช่วงระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 16 มกราคม 2566 โดยจะแข่งขันในรูปแบบเหย้า-เยือน ตั้งแต่รอบแรกจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งทีมชาติไทยอยู่ในกลุ่มเอ ร่วมกับ ฟิลิปปินส, อินโดนีเซีย, กัมพูชา และทีมจากรอบคัดเลือกระหว่าง ติมอร์เลสเต หรือบรูไนนั้น

ล่าสุดมีรายงานว่า ศึกฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน “เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็คทริก คัพ 2022” อาจจะเป็นอีกครั้งที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยี VAR เข้ามาช่วยในการตัดสินเกมการแข่งขัน เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องความพร้อม เพราะสถานการณ์ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่มีการใช้เทคโนโลยี VAR ในการตัดสินเกมแข่งขันฟุตบอลลีกอย่างแพร่หลาย

ทั้งนี้มีเพียงประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยี VAR ในการตัดสินการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก รวมถึงประเทศเวียดนามที่เคยนำระบบ VAR มาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก รอบ 12 ทีมสุดท้าย โซนเอเชียเท่านั้น ส่วนประเทศอื่นๆ ในย่านอาเซียนยังไม่มีความพร้อมในเทคโนโลยีส่วนนี้

ดังนั้น เมื่อการแข่งขันศึกฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน 2022 ดำเนินไปในรูปแบบเหย้า-เยือน และเจ้าบ้านในบางประเทศไม่สามารถใช้เทคโนโลยี VAR มาช่วยตัดสินได้ จึงมีโอกาสที่การแข่งขันรายการนี้จะไม่มีการนำเอาเทคโนโลยี VAR มาใช้ค่อนข้างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี VAR เป็นประเด็นก่อนหน้านี้ว่า ควรจะนำมาใช้ช่วยตัดสินในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน เพื่อความเป็นธรรม โดยที่ผ่านมาทางสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอาเซียน หรือ เอเอฟเอฟ ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาดูความพร้อม และระบบการจัดการเทคโนโลยี VAR ในประเทศไทยมาแล้ว

โปรแกรมของทีมชาติไทยในรอบแบ่งกลุ่ม ประกอบด้วย นัดแรก วันที่ 20 ธันวาคม 2565 พบ ติมอร์เลสเต หรือบรูไน (เยือน) นัดที่ 2 วันที่ 26 ธันวาคม 2565 พบ ฟิลิปปินส์ (เหย้า) นัดที่ 3 วันที่ 29 ธันวาคม 2565 พบ อินโดนีเซีย (เยือน) และนัดสุดท้าย วันที่ 2 มกราคม 2566 พบ กัมพูชา (เหย้า) ส่วนรอบรองชนะเลิศแข่งขันวันที่ 6-7 มกราคม 2566 และวันที่ 9-10 มกราคม 2566 และรอบชิงชนะเลิศ แข่งขันวันที่ 13 กับ 16 มกราคม 2566

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.