Football Sponsored

หลัง-หน้า-กลาง-ปีก แพงสุดสโมสร! แมนยู ควักเงินเสริมทัพเป็นสถิติตั้งแต่ปี2016 – Siamsport

Football Sponsored
Football Sponsored

“ปีศาจแดง” แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สร้างสถิติที่น่าสนใจในการทุ่มเงินเสริมทัพนับตั้งแต่ปี 2016 โดยพวกเขาดึงผู้เล่นที่มีค่าตัวแพงสุดในหน้าประวัติศาสตร์สโมสรตั้งแต่ตำแหน่งกองหลังยันกองหน้า

ยอดทีมแห่งถิ่นโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เคยสร้างความตกตะลึงให้กับวงการลูกหนังเมื่อควักกระเป๋าถึง 80 ล้านปอนด์ (ราว 3,520 ล้านบาท) ให้กับ เลสเตอร์ ซิตี้ เพื่อคว้าตัว แฮร์รี่ แม็กไกวร์ มาเสริมแกร่งเกมรับ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวทำให้กองหลังทีมชาติอังกฤษครองสถิติเซนเตอร์แบ็กที่แพงที่สุดในโลก

ขณะที่ในตำแหน่งกองกลาง “ผีแดง” ยินดีไม่มีปัญหาในการเซ็นเช็คจำนวน 94.5 ล้านปอนด์ (ราว 3,780 ล้านบาท) สำหรับกระชาก ปอล ป็อกบา มิดฟิลด์เลือดเฟร้นช์ มาจาก ยูเวนตุส และยังเป็นดึงเด็กปั้นกลับสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง แต่บทสรุปเป็นยังไงสาวก “เร้ด อาร์มี่” และคอบอลทั่วโลกคงเห็นกันแล้ว

สำหรับผู้เล่นทางปีกก่อนหน้านี้ เจดอน ซานโช่ ครองสถิติค่าตัว 76.5 ล้านปอนด์ (ราว 3,366 ล้านบาท) ตอนที่ย้ายมาจาก โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ เมื่อปี 2021 แต่ตอนนี้สถิติดังกล่าวถูกทำลายไปเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ “เร้ด เดวิลส์” คว้าตัว อันโตนี่ มาจาก อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม ด้วยสนนราคา 86 ล้านปอนด์ (ราว 3,784 ล้านบาท)

ตบท้ายด้วยผู้เล่นในตำแหน่งกองหน้า แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ไม่ยอมน้อยหน้า เพราะพวกเขาเคยทุ่มเงินถึง 76.2 ล้านปอนด์ (ราว 3,352 ล้านบาท) เพื่อคว้าตัว โรเมลู ลูกากู มาจาก เอฟเวอร์ตัน เมื่อปี 2017 แต่ผลลัพธ์ไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป

ยิ่งไปกว่านั้นหากไม่นับรวมกรณีของ ป็อกบา ที่ย้ายมาเมื่อปี 2016 เชื่อหรือไม่ว่า แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทุ่มเงินมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในตลาดพ่อค้าแข้งนับตั้งแต่ปี 2017 ด้วยมูลค่าถึง 765 ล้านปอนด์ (ราว 33,660 ล้านบาท) แต่กลับไม่มีโทรฟี่แชมป์แม้แต่รายการเดียว

**หมายเหตุ ป็อกบา คว้าแชมป์ ยูโรปา ลีก กับ ลีก คัพ (คาราบา คัพ) กับแมนฯ ยูฯ ในปี 2016

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.