ไม่ธรรมดา ไอวอรี่โคสต์สร้างสนามบอลใหม่ 7 พันล้าน
การผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย 3 สมัย ในปี 2006,2010,2014 ของ ไอวอรี่โคสต์ พร้อมกับการแจ้งเกิดของชาติใหม่ในโลกฟุตบอลที่ทุกคนจับตามองบรรดานักเตะชั้นดีจากชาติแห่งนี้ก้าวทะยานสู่ทวีปยุโรปและทีมชั้นนำมากมายไม่ว่าจะเป็น ดร็อกบา,โคโล่-ยาย่า ตูเร่,ซาลามอง กาลู,ตราโอเล่,วินฟรีด โบนีฯ เหล่านี้คือขุนพลฟุตบอลชั้นเอกของประเทศแห่งนี้ทั้งสิ้น บนพื้นที่ประมาณ 3 แสนตารางกิโลเมตรเศษประชากร 20 กว่าล้านคน พวกเขายกระดับการพัฒนาลูกหนังได้อย่างน่าสนใจ
ฟุตบอลคือสายเลือดแห่งความสุขและสายใยแห่งความรักของคนในประเทศล่าสุดเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา ไอวอรี่โคสต์ ตอบแทนความบ้าคลั่งของแฟนบอลและเดินหน้าสร้างแรงจูงใจให้เกิดนักเตะชั้นดีในประเทศเพื่อก้าวไปเหยียบสังเวียนลูกหนังชั้นดีของประเทศด้วยการเปิดสนามแข่งขันแห่งใหม่ภายใต้ชื่อ สตาเด เนชันแนล เด ลา โกส ติ วัวร์ หรือ สตาเด โอลิมปิเก เด เอ็มบิมเป อย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ต.ค.63 ที่ผ่านมา
สนามแห่งนี้เต็มไปด้วยความสวยงามและมีเอกลักษณ์โดดเด่นสุดๆ มีความจุ 60,012 ที่นั่ง สร้างตั้งแต่ปี 2016 ด้วยงบประมาณ 257 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(ประมาณ 7.7 พันล้านบาท) มีขนาดใหญ่กว่าสนามกีฬาแห่งชาติเดิมถึงเกือบ 2 เท่า และมีขนาดใหญ่เป็นอัดนับต้นๆของทวีปแอฟริกา ซึ่งการสร้างสนามแห่งนี้ได้บริษัทของจีน Beijing Institute of Architectural Design (BIAD) ออกแบบ ในขณะที่กระบวนการก่อสร้างดำเนินการโดย Beijing Construction Engineering Group (BCEG)
สตาเด เนชันแนล เด ลา โกส ติ วัวร์ หรือ สตาเด โอลิมปิเก เด เอ็มบิมเป กลายเป็นสนามที่ยอดเยี่ยมติดอันดับความเจ๋ง! 20 อันดับของโลกจากเวบไซต์ stadiumdb ที่มีการเปิดใช้งานในปี 2020 ที่ผ่านมา และมีความทันสมัยในการเป็นสนามกีฬายุคใหม่
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.