ยื้อได้แค่ไหน “ลอฟเรน” อดีตแนวรับลิเวอร์พูล ดวล MMA กับยอดนักสู้โครเอเชีย (คลิป)
ชมลีลา เดยัน ลอฟเรน ที่ขอท้าดวลมวยกรงกับยอดนักสู้ของโครเอเชีย ที่เคยผ่านสังเวียน UFC มาดูกันว่าอดีตกองหลังลิเวอร์พูลจะต้านทานได้นานแค่ไหน
วันที่ 22 มี.ค. 64 เดยัน ลอฟเรน ปราการหลังทีมชาติโครเอเชีย ชุดรองแชมป์ฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งย้ายจาก ลิเวอร์พูล ไปค้าแข้งในลีกสูงสุดของรัสเซียกับ เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก อาศัยเวลาว่างที่ไม่มีโปรแกรมแข่งขันในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยการฝึกเล่นกีฬาศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA)
แต่คู่ซ้อมของ ลอฟเรน มีดีกรีไม่ธรรมดา นั่นคือ เมียร์โก “โคร ค็อป” ฟิลิโปวิช อดีตนักกีฬา MMA ขวัญใจชาวโครเอเชีย เจ้าของสถิติชนะ 38 แพ้ 11 เสมอ 2 ในศึกใหญ่อย่าง UFC และ Pride Fighting Championships อีกทั้งเคยเป็นนักกีฬาคิกบ็อกซิ่งและมวยสากลสมัครเล่น รวมถึงเป็นทหารในสังกัดกองกำลังพิเศษของโครเอเชียในเวลานี้ด้วย
แน่นอนว่าการดวลกันครั้งนี้เป็น เมียร์โก “โคร ค็อป” ฟิลิโปวิช ที่คุมเกมได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ก่อนใช้ท่าซับมิชชั่นล็อกจน ลอฟเรน ต้องส่งสัญญาณขอยอมแพ้หลังจากยื้อได้เพียง 50 วินาที ซึ่งอดีตกองหลัง “หงส์แดง” ก็กล่าวยอมรับในฝีมือของอดีตนักสู้ MMA เพื่อนร่วมชาติ พร้อมขอบคุณผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวด้วย
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.