‘มิรันด้า’ เซ็นค้าแข้งทีมลีกท็อปสหรัฐฯ ก่อนส่งยืมตัวลุยลีกสวีเดน
‘มิรันด้า’ เซ็นค้าแข้งทีมลีกท็อปสหรัฐฯ ก่อนส่งยืมตัวลุยลีกสวีเดน
“มิรันด้า” สุชาวดี นิลธำรงค์ นักฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ลูกครึ่งไทย-สหรัฐฯ วัย 23 ปี ได้รับสัญญาอาชีพในการค้าแข้งกับสโมสร โอแอล ไรจ์น ทีมในระดับท็อปของลีกหญิง ของสหรัฐฯ โดยหลังจากการมอบสัญญาอาชีพ ทาง โอแอล ไรจ์น ได้ส่ง มิรันด้า ไปให้กับ คริสเตียนสตัด ดีเอฟเอฟ ทีมในสวีเดนยืมตัวไปใช้งาน
ฟาริด เบนสติติ เฮดโค้ชทีมโอแอล ไรจ์น กล่าวว่า มิรันด้า แสดงให้เห็นถึงคุณภาพที่ยอดเยี่ยมในช่วงปรีซีซั่น เราคิดว่าเธอจะได้รับประโยชน์อย่างมาก จากการเล่นอย่างต่อเนื่อง กับ คริสเตียนสตัด และคาดว่าจะก้าวมาเป็นกำลังหลักของทีมในปี 2022
ขณะที่ มิรันด้า กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นมาก ไม่เพียงแต่เรื่องการได้สัญญาอาชีพ จาก โอแอล ไรจ์น และคิดว่าการไปเล่นให้ คริสเตียนสตัด ดีเอเอฟซี ถือเป็นเรื่องดี และพร้อมสำหรับการเดินทางอีกครั้ง
สำหรับ “มิรันด้า” สุชาวดี นิลธำรงค์ นักเตะสาวลูกครึ่งไทย-สหรัฐฯ ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม หลังเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ชุดลุยศึกฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2019 ที่ประเทศฝรั่งเศส
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.