Football Sponsored

“มาโน” – “นิชิโนะ” – “ราเยวัช” ใครผลงานดีสุด หลังคุม ทีมชาติไทย ผ่าน 10 นัดแรก

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 27 มี.ค. 65 ทีมชาติไทย เอาชนะ ทีมชาติ ซูรินาม 1-0 โดยได้ประตูชัยจาก บดินทร์ ผาลา นาทีที่ 27 ในศึกอุ่นเครื่องฟีฟ่า เดย์ นัดที่สอง เดือนมีนาคม 

อย่างไรก็ตาม แมตช์ดังกล่าวคือการคุมทีมชาติไทยครบ 10 เกมของ มาโน โพลกิง โดยเจ้าตัวมีสถิติค่อนข้างสวยหรู หลังพาทีมชนะ 8 เสมอ 2 และยังสะกดคำว่าแพ้ไม่เป็น นับเป็นกุนซือ “ช้างศึก” ชุดใหญ่ ที่ออกสตาร์ตกุมบังเหียนโดยมีสถิติดีที่สุดหากเทียบกับ มิโลวาน ราเยวัช ที่เคยคุมทีมเมื่อปี 2017-19 และ อากิระ นิชิโนะ ที่เคยคุมทีมเมื่อปี 2019-21

สถิติ ทีมชาติไทย ยุค “มาโน โพลกิง” 10 นัดแรก (ชนะ 8 เสมอ 2)

5 ธันวาคม 2021 ชนะ ติมอร์ เลสเต 2-0 (อาเซียนคัพ 2020 รอบแบ่งกลุ่ม)

11 ธันวาคม 2021 ชนะ เมียนมา 4-0 (อาเซียนคัพ 2020 รอบแบ่งกลุ่ม)

14 ธันวาคม 2021 ชนะ ฟิลิปปินส์ 2-1 (อาเซียนคัพ 2020 รอบแบ่งกลุ่ม)

18 ธันวาคม 2021 ชนะ สิงคโปร์ 2-0 (อาเซียนคัพ 2020 รอบแบ่งกลุ่ม)

23 ธันวาคม 2021 ชนะ เวียดนาม 2-0 (อาเซียนคัพ 2020 รอบรองชนะเลิศ นัดแรก)

26 ธันวาคม 2021 เสมอ เวียดนาม 0-0 (อาเซียนคัพ 2020 รอบรองชนะเลิศ นัดสอง)

29 ธันวาคม 2021 ชนะ อินโดนีเซีย 4-0 (อาเซียนคัพ 2020 รอบชิงชนะเลิศ นัดแรก)

1 มกราคม 2022 เสมอ อินโดนีเซีย 2-2 (อาเซียนคัพ 2020 รอบชิงชนะเลิศ นัดสอง) 

24 มีนาคม 2022 ชนะ เนปาล 2-0 (อุ่นเครื่องฟีฟ่า เดย์ นัดแรก)

27 มีนาคม 2022 ชนะ ซูรินาม 1-0 (อุ่นเครื่องฟีฟ่า เดย์ นัดสอง)

สถิติ ทีมชาติไทย ยุค “อากิระ นิชิโนะ” 10 นัดแรก ชนะ 2 เสมอ 5 แพ้ 3

5 กันยายน 2019 เสมอ เวียดนาม 0-0 (ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก)

10 กันยายน 2019 ชนะ อินโดนีเซีย 3-0 (ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก)

10 ตุลาคม 2019 เสมอ คองโก 1-1 (อุ่นเครื่องฟีฟ่า เดย์)

15 ตุลาคม 2019 ชนะ ยูเออี 2-1 (ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก)

14 พฤศจิกายน 2019 แพ้ มาเลเซีย 1-2 (ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก)

19 พฤศจิกายน 2019 เสมอ เวียดนาม 0-0 (ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก)

25 พฤษภาคม 2021 เเพ้ โอมาน 0-1 (อุ่นเครื่องฟีฟ่า เดย์)

29 พฤษภาคม 2021 เสมอ ทาจิกิสถาน 2-2 (อุ่นเครื่องฟีฟ่า เดย์)

3 มิถุนายน 2021 เสมอ อินโดนีเซีย 2-2 (ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก)

7 มิถุนายน 2021 แพ้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1-3 (ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก)

สถิติ ทีมชาติไทย ยุค “มิโลวาน ราเยวัช” 10 นัดแรก ชนะ 3 เสมอ 3 แพ้ 4

6 มิถุนายน 2017 แพ้ อุซเบกิสถาน 0-2 (อุ่นเครื่องฟีฟ่า เดย์)

13 มิถุนายน 2017 เสมอ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1-1 (ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก)

14 กรกฎาคม 2017  ชนะ เกาหลีเหนือ 3-0 (คิงส์ คัพ)

16 กรกฎาคม 2017  เสมอ เบรารุส 0-0 (ชนะจุดโทษ 5-4) (คิงส์ คัพ)

31 สิงหาคม 2017 แพ้ อิรัก 1-2 (ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก)

5 กันยายน 2017  แพ้ ออสเตรเลีย 1-2 (ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก)

5 ตุลาคม 2017  ชนะ เมียนมา 3-1 (อุ่นเครื่องฟีฟ่า เดย์)

8 ตุลาคม 2017 ชนะ เคนยา 1-0 (อุ่นเครื่องฟีฟ่า เดย์)

22 มีนาคม 2018 เสมอ กาบอง 0-0 (ชนะจุดโทษ 4-2) (คิงส์ คัพ)

25 มีนาคม 2018 แพ้ สโลวาเกีย 2-3 (คิงส์ คัพ)

อย่างไรก็ตาม หากเทียบ โปรแกรมและคู่แข่งที่เผชิญ ต้องยอมรับว่า ทีมชาติไทย ยุค มาโน โพลกิง ยังไม่ถูกทดสอบโดยทีมระดับชั้นนำของเอเชีย หรือทวีปอื่น เหมือนยุค นิชิโนะ กับ ราเยวัช จึงค่อนข้างเบากว่า 

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.