Football Sponsored

เรนเจอร์สขึ้นเบอร์2-แมนยู14!ท็อป20ทีมคว้าแชมป์มากสุดในโลก

Football Sponsored
Football Sponsored

เปิด 20 อันดับสโมสรฟุตบอลที่ได้ถ้วยแชมป์มากสุดในโลก หลัง เรนเจอร์ส ไล่จี้เบอร์ 1 ขึ้นมาติดๆ ขณะที่ แมนฯ ยูไนเต็ด และ ลิเวอร์พูล อยู่ที่ 14 และ 17 ตามลำดับ

    สตีเว่น เจอร์ราร์ด ผู้จัดการทีมชาวอังกฤษของ เรนเจอร์ส นำทัพ “เดอะ ไลท์บลูส์” กลับมาคว้าแชมป์ สกอตติช พรีเมียร์ชิพ ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี และนับเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่ 55 ของสโมสร ทิ้งห่าง เซลติก ที่ได้ไป 51 ครั้ง

    นอกจากนั้น เรนเจอร์ส ยังขึ้นมาเป็นทีมที่ได้แชมป์มากสุดเป็นอันดับสองของโลก ที่จำนวน 116 โทรฟี่ ส่วนอันดับ 1 คือ อัล อาห์ลี ของอียิปต์ ที่ได้แชมป์รวมทั้งหมด 118 รายการ

    ส่วนทีมจาก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ที่มีอันดับสูงสุดคือ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้แชมป์รวม 66 รายการรั้งเบอร์ 14 ของโลก 
ตามมาด้วย ลิเวอร์พูล ได้แชมป์รวม 60 ใบ อยู่ที่ 17 ของโลก

20 สโมสรฟุตบอลที่คว้าแชมป์รวมมากสุดในโลก
1. อัล อาห์ลี (อียิปต์)  118
2. เรนเจอร์ส (สกอตแลนด์) 116
3. นาซิอองนาล (อุรุกวัย) 115 
4. เซลติก (สกอตแลนด์) 111
5. เปนารอล (อุรุกวัย)  108
6. เรอัล มาดริด (สเปน) 93
7. บาร์เซโลน่า (สเปน) 91
8. เบนฟิก้า (โปรตุเกส) 83
9. อัล-ไฟซาลี (จอร์แดน) 79
10. บาเยิร์น (เยอรมัน)  78
11. โอลิมเปียกอส (กรีซ) 77
12. ปอร์โต้ (โปรตุเกส) 76
13. อาแจ็กซ์ (ฮอลแลนด์) 70
14. แมนฯ ยูไนเต็ด (อังกฤษ) 66
14. ยูเวนตุส (อิตาลี)  66
14. กาลาตาซาลาย (ตุรกี) 66
17. ลิเวอร์พูล (อังกฤษ) 60
17. อันเดอร์เลชท์ (เบลเยียม) 60
19. สเตอัว บูคาเรสต์ (โรมาเนีย) 58
20. โบคา จูเนียร์ส (อาร์เจนตินา) 56

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.