Football Sponsored

คล็อปป์ติดโผ! 10 แคนดิเดตกุนซือเยอรมันคนใหม่

Football Sponsored
Football Sponsored
  1. Getty

    #1 เยอร์เก้น คล็อปป์

    ต้นสังกัดปัจจุบัน: ลิเวอร์พูล

    หมดสัญญา: มิถุนายน 2024

    คล็อปป์ ถูกคาดหมายมาตลอดว่าจะต้องมารับงานเป็นกุนซือทีมชาติเยอรมันเพื่มเติมเต็มความฝันในอาชีพกุนซือ และการที่ลิเวอร์พูลผลงานย่ำแย่ในฤดูกาลนี้ ก็อาจเป็นไปได้ที่เขาจะต้องแยกทางกับสโมสร

    อย่างไรก็ตาม เจ้าตัวก็ออกมาปฏิเสธไปแล้วว่าไม่สนใจรับงานนี้ เพราะเคารพสัญญากับหงส์แดงที่เหลือถึง 3 ปี

  2. Getty

    #2 ฮันซี ฟลิค

    ต้นสังกัดปัจจุบัน: บาเยิร์น มิวนิค

    หมดสัญญา: มิถุนายน 2023

    ฟลิค เคยเป็นผู้ช่วยบุนเดสเทรนเนอร์ของ เลิฟ ถึง 8 ปี รวมถึงเคยเป็นผู้อำนวยการกีฬาของสหพันธ์ฟุตบอลเยอรมันก่อนมารับงานกับบาเยิร์นด้วย และความคุ้นเคยกับระบบของเดเอฟเบเป็นอย่างดี ก็ทำให้เขาเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจทีเดียว

  3. Depo Photos

    #3 ราล์ฟ รังนิก

    ต้นสังกัดปัจจุบัน: ไร้สังกัด

    โค้ชวัย 62 ปี อยู่ในช่วงว่างงาน หลังจากมีส่วนสำคัญในการวางรากฐานให้ แอร์เบ ไลป์ซิก พัฒนากลายมาเป็นทีมชั้นนำของบุนเดสลีกา และตำแหน่งบุนเดสเทรนเนอร์ก็ถือเป็นความใฝ่ฝันของเจ้าตัวด้วย

    “ไม่มีใครรู้อนาคตได้ ผมจะปล่อยให้มันเป็นไปตามที่ควรจะเป็น และผมก็ตื่นเต้นกับตัวเองมาก” รังนิก เคยพูดไว้เมื่อเดือนธันวาคม ถึงเรื่องการรับตำแหน่งกุนซืออินทรีเหล็ก

  4. Getty

    #4 ยูเลียน นาเกิลส์มันน์

    ต้นสังกัดปัจจุบัน: แอร์เบ ไลป์ซิก

    หมดสัญญา: มิถุนายน 2023

    หากเขาถูกแต่งตั้งให้มารับงานแทน โยอาคิม เลิฟ ก็จะกลายเป็นบุนเดสเทรนเนอร์อายุน้อยสุดในประวัติศาสตร์ ด้วยวัย 33 ปีทันที

    กระนั้นเขาก็ไม่ดูจะไม่รีบร้อนที่จะรับงานระดับชาติเร็วเกินไปนัก จากที่เคยให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2020 ไว้ว่า: “เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นโค้ชให้ทีมชาติ แต่ผมยังมีเวลาอีกมาก ยังต้องการทำงานทุกวัน และสนุกกับฟุตบอลสโมสร”

  5. #5 สเตฟาน คุนท์ซ

    ต้นสังกัดปัจจุบัน: ทีมชาติเยอรมัน U21

    หมดสัญญา: มิถุนายน 2023

    อดีตแข้งชุดแชมป์ยูโร 1996 เคยพาทัพอินทรีเหล็กชุดเล็กคว้าแชมป์ยูโรรุ่น U21 มาแล้วเมื่อปี 2017 

    แม้ชื่อเสียงในด้านกุนซืออาจจะเทียบกับตัวเลือกคนอื่นไม่ได้ แต่การทำงานกับชุด U21 มาตั้งแต่ปี 2016 ก็อาจเป็นไปได้ว่าเขาจะถูกเลือกเพราะความคุ้นเคยกับระบบของเดเอฟเบมายาวนาน

  6. Getty

    #6 โลธาร์ มัทเธอุส

    ต้นสังกัดปัจจุบัน: ไร้สังกัด

    กัปตันทีมชาติชุดแชมป์ฟุตบอลโลกเมื่อปี 1990 เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ แม้ว่าเขาจะห่างหายจากงานกุนซือไปยาวนานนับตั้งแต่แยกทางกับบัลแกเรียเมื่อปี 2011

    “แน่นอนว่าผมสนใจงานฟุตบอลทีมชาติ แต่ก็มีความสุขกับชีวิตที่ผมกำหนดได้เอง” มัทเธอุส ซึ่งปัจจุบันทำงานเป็นกูรูฟุตบอลของ Sky Deutschland เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้

  7. Getty

    #7 อาร์มิน เฟห์

    ต้นสังกัดปัจจุบัน: ไร้สังกัด

    อดีตกุนซือผู้พาสตุ๊ตการ์ตคว้าแชมป์บุนเดสลีกาเมื่อปี 2007 ยังว่างงานอยู่ นับตั้งแต่รับงานล่าสุดคือการเป็นผู้อำนวยการกีฬาของโคโลญจน์ช่วงปี 2017-2019

    “อาร์มิน เฟห์ ทำงานได้ดี เข้ากับทีมได้ดี เข้ากับผู้เล่นได้ดี นอกจากนี้เขายังมีความสุขุมด้วย” โลธาร์ มัทเธอุส ยกให้ เฟห์ เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับตำแหน่งบุนเดสเทรนเนอร์คนใหม่

  8. #8 ลูเซียง ฟาฟร์

    ต้นสังกัดปัจจุบัน: ไร้สังกัด

    แม้ว่าเยอรมันจะไม่เคยใช้งานกุนซือต่างชาติมาก่อน แต่อดีตนายใหญ่ของโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย

    ฟาฟร์ เคยแสดงให้เห็นกับเสือเหลืองแล้วว่า เขาคือโค้ชที่พร้อมจะให้โอกาสดาวรุ่งได้เฉิดฉายเสมอ ซึ่งสอดคล้องกับการทำงานของเดเอฟเบที่ต้องการผลักดันแข้งสายเลือดใหม่พอดีด้วย

  9. Getty

    #9 อาร์แซน เวนเกอร์

    ต้นสังกัดปัจจุบัน: ไร้สังกัด

    ตำนานกุนซือชาวฝรั่งเศสเคยถูกทาบทาบให้มาตำแหน่งบุนเดสลีกา ตั้งแต่ยังทำงานอยู่กับอาร์เซนอลแล้วด้วย

    ผมต้องการบอกว่าผมอยากไปฟุตบอลโลกมาโดยตลอด เพราะผมรู้สึกว่ามันเป็นที่ของผู้จัดการทีม ที่จะได้พบกับนักเตะที่ดีที่สุดในโลกลงเล่น” เวนเกอร์ เคยให้สัมภาษณ์กับ beIN SPORTS เมื่อปี 2019 ว่าเขาสนใจรับงานคุมทีมชาติลุยศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์

  10. #10 เยอร์เก้น คลินส์มันน์

    ต้นสังกัดปัจจุบัน: ไร้สังกัด

    อดีตกุนซือชุดคว้าอันดับ 3 ในศึกฟุตบอลโลกเมื่อปี 2006 ถูกคาดหมายว่าอาจจะถูกดึงกลับมารับตำแหน่งเดิมอีกครั้ง

    อย่างไรก็ตาม เส้นทางงานโค้ชของเขานับตั้งแต่อำลาทัพอินทรีเหล็กกลับทำได้ไม่ดี ทั้งการไปอยู่กับบาเยิร์น มิวนิค, ทีมชาติสหรัฐอเมริกา รวมถึงงานล่าสุดคือกับ แฮร์ธา เบอร์ลิน เมื่อฤดูกาลก่อน ซึ่งได้คุมทัพแค่ 10 เกมเท่านั้น

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.