‘กาตาร์’ เดินหน้าเสนอตัวขอจัดโอลิมปิก 2032 ไม่หวั่นแม้ ‘บริสเบน’ เป็นตัวเต็ง
‘กาตาร์’ เดินหน้าเสนอตัวขอจัดโอลิมปิก 2032 ไม่หวั่นแม้ ‘บริสเบน’ เป็นตัวเต็ง
คณะกรรมการโอลิมปิกกาตาร์ยังคงเดินหน้าเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ 2032 ในอีก 11 ปีข้างหน้า ถึงแม้ว่าคณะกรรมการโอลิมปิกสากล(ไอโอซี) พิจารณาว่านครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เป็นตัวเต็งที่จะได้สิทธิเป็นเจ้าภาพ
ชีก โจอันน์ บิน ฮาหมัด คาลิฟา อัล-ธานี ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกกาตาร์กล่าวว่า การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2032 ยังคงเป็นเป้าหมายสูงสุดของกาตาร์ ที่ผ่านมาได้ความรู้และประสบการณ์มากมายจากการเสนอตัวไป 2 ครั้งก่อนหน้า และยังเชื่อว่ากรุงโดฮาอยู่ในจุดที่เหมาะสม มีความเสี่ยงต่ำ สามารถจัดการแข่งขันระดับโลกได้อย่างยิ่งใหญ่เหมาะกับความยิ่งใหญ่ของโอลิมปิกเกมส์ ช่วงเวลาที่เหลือก็พร้อมที่จะหารือกับไอโอซีเพื่อให้เห็นภาพว่าถ้าโอลิมปิกมาจัดที่กาตาร์ ภาพรวมจะออกมาเป็นอย่างไร
กาตาร์กำลังจะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 ในปีหน้า ต่อด้วยกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ 2030 ขณะที่คู่แข่งในการเสนอตัวโอลิมปิกเกมส์ 2032 นอกจากออสเตรเลียแล้ว ยังมีจีน, อินโดนีเซีย, อินเดีย, ฮังการี ที่แสดงความสนใจก่อนหน้านี้ด้วย
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.