“ไทร่า”คว้ารองแชมป์หญิงคู่เทนนิสยช.ไอทีเอฟเกรด 4 แดนน้ำหอม – สยามกีฬา
ไทร่า ลิธิบี นักหวดเยาวชนวัย 14 ปี ทีมชาติไทยชุด “จูเนียร์ เฟดคัพ” รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปีหญิง ควงคู่เพื่อนนักเทนนิสชาวเดนมาร์ก เอ็มมา เกมเปอร์ คว้ารองแชมป์ประเภทหญิงคู่
ศึกเทนนิสเยาวชนนานาชาติ สะสมคะแนนเยาวชนโลก ไอทีเอฟ จูเนียร์ เกรด 4 รายการ “เจ4 ดีฌง ไอทีเอฟ จูเนียร์ 2021” ที่เมืองดีฌง ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ไทร่า กับ เอ็มมา ซึ่งเป็นคู่มือวาง 4 ของรายการ ลงแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ประเภทหญิงคู่ โดยปราชัยให้กับ เอบิลิ่ง โคนิ่ง กับ เมเรนเต้ ซีจ์เบสม่า คู่นักเทนนิสชาวเนเธอร์แลนด์ คู่มือวาง 3 ของรายการ 0-2 เซต ด้วยสกอร์ 1-6 และ 2-6
ส่วนประเภทหญิงเดี่ยว ไทร่า มืออันดับ 820 เยาวชนโลก พลาดท่าพ่ายให้กับ เทีย ซีวิช นักเทนนิสเยาวชนวัย 16 ปี มืออันดับ 812 เยาวชนโลกชาวฝรั่งเศส ในการลงแข่งขันรอบที่ 2 ไปอย่างหวุดหวิด 1-2 เซต ด้วยสกอร์ 7-5, 0-6 และ 2-6
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.