Football Sponsored

ทําไมบอลไทย ไม่ไปบอลโลก (1) – ไทยรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

ขอเท้าความก่อนว่า คุณพ่อผมจบหลักสูตร FA B License ของสมาคมฟุตบอลฯ และเปิดอะคาเดมีสอนฟุตบอลเด็กอายุตั้งแต่ 5-18 ปี

มาร่วมๆ 12 ปีครับ เลยค่อนข้างที่จะเห็นความเป็นไปของการพัฒนาเยาวชนของวงการฟุตบอลไทย มาพอสมควร

ส่วนตัวผม เป็นเพียงเด็กอายุ 21 ปี ที่พอคุณพ่ออบรมอะไรเสร็จมาก็จะมาพูดถึงเรื่องที่อบรมให้ฟังเสมอๆ และมีโอกาสได้ช่วยคุณพ่อทำงานสอนตั้งแต่อยู่ ม.5 ครับ และต่อไปนี้คือเหตุผลที่ว่า ทำไมส่วนตัวผมและคุณพ่อถึงคิดว่า “ฟุตบอลไทยจะไม่สามารถไปฟุตบอลโลกได้ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปอีก 10 ปีก็ตาม”

1.เด็กไทยเก่งเกินไป : หรือถ้าให้ขยายความก็คือเด็กไทยเล่นฟุตบอลเก่งเร็วเกินไป คำว่าเก่งที่ผมพยายามจะสื่อถึงคือในทัศนคติของหลายๆคนที่ยังคิดว่า เด็กเก่ง = เด็กที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งด้วยเหตุผลนี้ทำให้โค้ชหลายคน เลือกที่จะไปอบรมเพื่อให้ได้ใบประกาศเฉยๆ ว่าไม่ได้เป็นโค้ชเถื่อน โค้ชเหล่านี้ใช้ความสำเร็จหว่านล้อมผู้ปกครองและเด็กๆด้วยค่านิยมของความสำเร็จในรายการแข่งขันต่างๆ เพื่อให้มาเรียน กับตน เพื่อให้มีรายได้และสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง

ซึ่งสิ่งที่โค้ชเหล่านี้ทำคือการ จับเด็กมา วิ่งๆๆๆ อัดเด็กให้แข็งๆๆๆ เพราะธรรมชาติของฟุตบอลเด็กอายุประมาณ 5-14 ปี แข็งแรงกว่า = ชนะ แต่กลับไม่รู้เลยว่านี่คือต้นตอของปัญหาทั้งหมดในวงการฟุตบอลไทยที่ ณ ตอนนี้ ถ้าไม่ติดโควิด เด็กอายุ 5 ขวบ 6 ขวบหลายคน กำลังโดนวิธีการสอนแบบนี้ เราจึงเห็นเคสบ่อยๆ ที่เด็กรุ่นยุวชนของไทยที่ไปเอาชนะทีมจากยุโรป ได้อยู่เรื่อยๆ ไม่ใช่เพราะทักษะครับความแข็งแรง ล้วนๆทำให้ชนะได้ และก็จะมีคอมเมนต์ว่า “เด็กไทยเก่งจัง!!” มาอยู่เนืองๆ

2.เด็กไทย IQ ฟุตบอลต่ำ : ซึ่งจากการฝึกซ้อมในข้อแรกนั้นเอง ส่งผลให้เด็กไทย IQ ฟุตบอลต่ำ เพราะโค้ชในระดับอะคาเดมีรากหญ้า ส่วนใหญ่ ไม่เคยสอนศาสตร์การเล่นฟุตบอลให้กับ เด็กเลยครับ “จังหวะไหนควรเลี้ยง จังหวะไหนควรส่ง” “ถ้าโดนบีบกดดันจะ Anti pressing ยังไง ใช้ทักษะอะไรในการเอาตัวรอด” “เมื่อเสีย บอลแล้วควรทำอย่างไร”

“เมื่อเพื่อนได้บอลเราควรจะขยับไปตรงไหน” “ตอนไม่มีบอลจะคิดล่วงหน้าในการเล่นอย่างไร” คือสิ่งที่เด็กไทยส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนมาตั้งแต่เด็กครับ เพราะได้รับการซ้อมที่อัดความแข็งแรงเป็นหลักเข้าว่าเพื่อที่จะเบียดชนะลูกเดียว เก็บผลการแข่งขันเป็นหลัก ส่วนเรื่องของ “ทักษะฟุตบอล” (การคอนโทรลบอล การเลี้ยง ส่ง โหม่ง ยิง) ก็ไม่ได้มีการฝึกสอนที่เข้มข้นพอ

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.