เปิดสถิติ “นิชิโนะ” คุมทีมชาติไทยในเกมทางการก่อนถูก “ส.ฟุตบอล” ยุติสัญญา – ไทยรัฐ
วันที่ 29 ก.ค. 64 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ประกาศยุติสัญญาของ อากิระ นิชิโนะ ในการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอลชายทีมชาติไทย หลังจากไม่สามารถผ่านไปเล่นรอบ 12 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 และ เอเชียนคัพ รอบคัดเลือก รอบสอง จากการจบด้วยอันดับที่ 4 ของกลุ่มจี มี 9 คะแนน จากการลงสนาม 8 นัด
สำหรับสถิติการคุมทัพ “ช้างศึก” ของ อากิระ นิชิโนะ ในเกมอย่างเป็นทางการทั้งชุดใหญ่ และชุดอายุไม่เกิน 23 ปี มีดังนี้
วันที่ 17 กรกฎาคม 2562 – 29 กรกฎาคม 2564
ชุดใหญ่ : 11 นัด ชนะ 2 เสมอ 5 แพ้ 4 เปอร์เซ็นต์ชนะ 18.18 %
ชุดยู-23 : 9 นัด ชนะ 4 เสมอ 2 แพ้ 3 เปอร์เซ็นต์ชนะ 44.44 %
ทั้งนี้ การเตรียมทีมชาติไทยหลังการแยกทางกับ นิชิโนะ เพื่อเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลเอเอฟซี U23 รอบคัดเลือก และการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2021 และฟุตบอลเอเชียนคัพ 2023 รอบคัดเลือกรอบที่ 3 นั้น ฝ่ายพัฒนาเทคนิคและทีมชาติ ได้ดำเนินการเตรียมรายชื่อนักกีฬาที่อยู่ในข่าย กำหนดช่วงเวลา รวมถึงสถานที่เก็บตัวฝึกซ้อม เพื่อประสานงานกับสโมสรต้นสังกัด
ส่วนการพิจารณาผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำหน้าที่หัวหน้าผู้ฝึกสอน นั้น จะมีการดำเนินงาน สรรหาและแจ้งให้ทราบในอนาคตอันใกล้ เพื่อให้ทีมชาติไทยมีเวลาในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การแข่งขัน
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.