Football Sponsored

แฟนลุ้นยากตามเชียร์ฟุตซอลโลกหลังอียูถอดชื่อจากประเทศปลอดโควิด – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

อียู ถอดชื่อไทยออกจากประเทศปลอดภัยโควิด-19 ส่งผลเรื่องยาก แฟนบอลตามเชียร์ฟุตซอลชิงแชมป์โลก ที่ประเทศลิทัวเนีย ระหว่างวันที่ 12 ก.ย.- 3 ต.ค. 64

    เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 64 มีรายงานข่าวแจ้งว่า สหภาพยุโรป  หรืออียู  ได้ออกแถลงการณ์ มีมติถอด ประเทศไทย และ ประเทศรวันดา ออกจากบัญชีรายชื่อ ประเทศที่มีความปลอดภัยจากโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์การติดเชื้อภายในประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการที่ประเทศไทยถูกถอดชื่อครั้งนี้จะทำให้แฟนกีฬาเมืองไทย

    โดยเฉพาะแฟนฟุตซอลที่จะเดินทางไปชมการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2021 ที่ประเทศลิทัวเนียเป็นเจ้าภาพ แข่งขันระหว่างวันที่ 12 ก.ย.- 3 ต.ค. 64 จะต้องพบกับความยากลำบากมากยิ่งขึ้นเป็น 2 เท่า ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาทำวีซ่าเข้าประเทศ ที่จะยากขึ้นไปจากเดิมซึ่งก่อนหน้าก็ยากอยู่แล้ว รวมถึงจะต้องเข้ามาตราการกักตัว เมื่อถึงปลายทางอย่างเข้มงวด ด้วยความเข้มงวดดังกล่าวจะส่งผลอาจทำให้แฟนบอลไทย คงยากที่จะเดินทางไปส่งเสียงเชียร์ข้างสนามให้กับทัพช้างศึกโต๊ะเล็ก

    สำหรับฟุตซอลทีมชาติไทย ในการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2021 ที่ประเทศลิทัวเนีย จับสลากอยู่ในกลุ่มซี  ร่วมกับทีม โปรตุเกส , หมู่เกาะโซโลมอน  และ โมร็อกโก โดยมีโปรแกรมการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่ม ที่สนาม ซัลกิริส อารีนา  นัดที่ 1 วันที่ 13 ก.ย.64 พบ โปรตุเกส , นัดที่ 2 วันที่ 16 ก.ย.64  พบ โมร็อกโก  และนัดที่ 3 วันที่ 19 ก.ย. 64  พบ หมู่เกาะโซโลมอน

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.