Football Sponsored

บันทึกสถิติคลาสสิกนัดชิงยูโร2020 – หนังสือพิมพ์แนวหน้า

Football Sponsored
Football Sponsored

วันจันทร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 11.25 น.

อิตาลีคว้าตำแหน่งแชมป์ยุโรปเป็นครั้งที่ 2 และเป็นครั้งแรกในรอบ 53 ปี มันเป็นช่องว่างที่ยาวที่สุดระหว่างการแข่งขันชิงแชมป์ในทัวร์นาเมนต์ โดยชาติที่รอคอยนานสุดก่อนหน้านี้คือ สเปน คือ 44 ปี

อังกฤษชนะเพียง 22% หรือ 2 จาก 9 ครั้งเท่านั้นในการการยิงลูกโทษในการแข่งขันรายการใหญ่ นั่นคือ ฟุตบอลโลก และบอลยูโร ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ต่ำที่สุดของประเทศในยุโรปใดๆ ที่มีการยิงเกิน 3 นัด

อิตาลี ถูกยิงนำครั้งแรกในยูโร ก่อนจะใช้เวลา 65 นาทีตามตีเสมอ ซึ่งถือว่านานที่สุดในช่วงเวลาที่ตามหลัง ก่อนจะรักษาสถิติไร้พ่ายต่อไป 33 เกม

อังกฤษครองบอลน้อยที่สุดในเกมที่เวมบลีย์ (34.4%) นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2016  ในเกมพบกับ สเปน ครั้งนั้นครองบอล 34.3%

แกเร็ธ เซาธ์เกต ทำการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1 ตำแหน่งกับทีมตัวจริง รวมทั้งสิ้น 37 นัดติดต่อกัน โดยครั้งสุดท้ายที่ใช้นักเตะชุดเดิมก็คือ รอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 2018

การพังประตูได้ตั้งแต่วินาทีที่ 57 ของ ลุค ชอว์ นอกจากจะเป็นประตูแรกของเขาในทีมชาติอังกฤษ ยังเป็นประตูที่เร็วที่สุดในรอบชิงชนะเลิศของการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรปอีกด้วย

เลโอนาร์โด้ โบนุชชี่ ในวัย 34 ปี 71 วัน กลายเป็นผู้เล่นที่อายุมากที่สุดที่เคยทำประตูในการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรปรอบชิงชนะเลิศ และเป็นนักบอลยุโรปที่อายุมากเป็นอันดับ 2 ที่สามารถพังสกอร์ในรายการใหญ่ ต่อจาก นีลส์ ลีดโฮล์ม ของทีมชาติสวีเดน ที่ยิง บราซิล ในบอลโลก นัดชิงปี 1958 ตอนนั้นตำนานลีดโฮล์ม อายุ 35 ปี 264 วัน

แฮร์รี่ เคน ล้มเหลวในการสร้างโอกาสพังประตูหรือไม่ได้สับไกเลยเป็นหนที่ 2 ในการรับใช้ทีมชาติ 61 นัด ก่อนหน้านั้นเคยเกิดขึ้นในเกมกระชับมิตรกับ สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนกันยายน 2018

ยูโร2020 สร้างสถิติใหม่ด้วยการทำประตูรวมได้มากที่สุด 142 ลูก ทำลายสถิติเดิมปี 2016 ที่ยิงรวมเอาไว้สูงสุด 108 ประตู และปี 2000 ยิงรวมไว้ 85 ประตู

โดยค่าเฉลี่ยยูโรครั้งนี้อยู่ที่ตัวเลข 2.75 ประตูต่อนัด ของเดิมปี 2000 คือ 2.74 ประตูต่อนัด

อิตาลี นับเป็น”เจ้าภาพ”ทีมที่ 3 ที่ได้แชมป์ต่อจาก สเปน ปี 1964 และฝรั่งเศส ปี 1984 โดยหนนี้ อิตาลี เป็นหนึ่งใน 11 เจ้าภาพร่วม

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.