Football Sponsored

สื่อเยอรมนีแสบ เย้ยสิงโตพ่ายดวลจุดโทษ มือเปล่าอีกแล้ว! – มติชน

Football Sponsored
Football Sponsored
(Photo by Laurence Griffiths / POOL / AFP)

สื่อเยอรมนีแสบ เย้ยสิงโตพ่ายดวลจุดโทษ มือเปล่าอีกแล้ว!

ภายหลังจากอังกฤษอกหักพ่ายอิตาลีในการดวลจุดโทษ 2-3 หลังเสมอในเวลา 120 นาที 1-1 ในรอบชิงชนะเลิศ ฟุตบอลยูโร 2020 ที่สนามเวมบลีย์ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม สื่อเยอรมนีในฐานะที่เป็นคู่ปรับสำคัญในวงการลูกหนังโลก อีกทั้ง “อินทรีเหล็ก” ยังโดน “สิงโตคำราม” เขี่ยร่วงรอบ 16 ทีมสุดท้าย จึงพากันพาดหัวข่าวในเชิงเย้ยหยันทีมลูกหนังเมืองผู้ดี โดยเฉพาะประเด็นที่ต้องผิดหวังเพราะแพ้การดวลจุดโทษอีกครั้ง

“บิลด์ ไซตุง” สื่อใหญ่เมืองเบียร์ พาดหัวว่า “ลูกโทษ! อังกฤษ! มือเปล่าอีกแล้ว!” ขณะที่ “ซุดดอยต์ช ไซตุง” พาดหัวบรรทัดแรกด้วยข้อความตัวเล็กๆ ว่า “อิตาลีชนะอังกฤษ” ตามด้วยข้อความตัวโตบรรทัดถัดมาว่า “แน่นอนว่าจากการดวลจุดโทษ” โดยมีภาพขณะนักเตะอัซซูรี่เข้าไปสวมกอดจานลุยจิ ดอนนารุมม่า นายทวารที่เป็นฮีโร่เซฟจุดโทษ 2 ครั้ง

“ได เวลต์” พาดหัวว่า “สต๊าฟโค้ชอังกฤษคิดผิดมหันต์เรื่องการดวลจุดโทษ” พร้อมวิจารณ์ว่า แกเร็ธ เซาธ์เกต กุนซือสิงโตคำราม มีแผนเรื่องคนยิงจุดโทษที่ประหลาดมาก เพราะหลังจากแฮร์รี่ เคน และแฮร์รี่ แม็กไกวร์ แล้ว 3 คนถัดมาล้วนเป็นนักเตะอายุน้อยที่ยังไม่มีประสบการณ์ โดยเฉพาะเจดอน ซานโช่ กับบูกาโย่ ซาก้า ที่อายุยังเล่นให้ทีมยู-21 ได้อยู่เลย ขณะที่มาร์คัส แรชฟอร์ด เพิ่งอายุ 23 ปีเท่านั้น แต่กลับกลายเป็นว่า นักเตะเหล่านี้ต้องมาแบกรับแรงกดดันมหาศาล รวมถึงความคาดหวังจากคนทั้งประเทศที่ต้องการเห็นทีมคว้าแชมป์ระดับเมเจอร์ครั้งแรกนับตั้งแต่ฟุตบอลโลกปี 1966

สำหรับอังกฤษมีประวัติการดวลลูกโทษไม่ดี เคยแพ้เยอรมนีในรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 1990 และยูโร 1996 ส่วนสถิติในการดวลลูกโทษในรายการสำคัญ จากฟุตบอลโลก ฟุตบอลยูโร และยูฟ่า เนชั่นส์ลีก รวม 10 ครั้ง สิงโตคำรามชนะ 3 ครั้ง แพ้ 7 ครั้ง

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.