Football Sponsored

‘พาทิศ’ ชี้สนามแข่งไทยไม่มีปัญหา พร้อมเป็นเจ้าภาพคัดบอลโลกได้

Football Sponsored
Football Sponsored

‘พาทิศ’ ชี้สนามแข่งไทยไม่มีปัญหา พร้อมเป็นเจ้าภาพคัดบอลโลกได้

จากกรณีที่สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) ได้เลื่อนการแข่งฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง ไปแข่งขันในช่วงเดือนมิถุนายนทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการดำเนินการแข่งขันในรูปแบบสนามกลาง และจะมีการหาเจ้าภาพนั้น

ในส่วนของกลุ่มจี ซึ่งมี “ช้างศึก” ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดใหญ่ อยู่ร่วมกลุ่มกับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี), เวียดนาม, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย นั้น

ล่าสุดมีรายงานว่า เวียดนาม มีโอกาสที่จะไม่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ เนื่องจากว่าไม่ผ่านเกณฑ์ของทางเอเอฟซี โดยเฉพาะเรื่องสนามแข่งขัน ที่ต้องมีสนามตามมาตรฐานอย่างน้อย 2 สนามด้วยกัน ขณะเดียวกันสื่อมาเลเซีย เปิดเผยว่าทั้ง มาเลเซีย และอินโดนีเซีย อีก 2 ทีมร่วมกลุ่มของทีมชาติไทยนั้น ก็จะไม่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพสนามกลางด้วยเช่นกัน ทำให้เหลือแค่ไทยกับยูเออี ที่ต้องลุ้นแย่งเป็นเจ้าภาพกันนั้น

ด้าน “โจ” นายพาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เปิดเผยว่า ในส่วนของประเทศไทย เรื่องสนามแข่ง และสนามซ้อม ไม่ใช่ปัญหา เพราะมีศักยภาพแน่นอน เนื่องจากต้นปีพ.ศ.2563 ได้จัดการแข่งขันฟุตบอลอายุไม่เกิน 23 ปี ชิงแชมป์เอเชีย ที่นอกจากราชมังคลากีฬาสถาน และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แล้ว ก็ไปจัดหัวเมืองต่างจังหวัด อย่าง บุรีรัมย์ และ สงขลา มาด้วย ถือเป็นการการันตีศักยภาพของไทยได้อีกหลายปี

นายพาทิศ กล่าวต่อว่า เรื่องมาตรการการกักตัวนั้น คิดว่าน่าจะเป็นทิศทางเดียวกับการขอเป็นเจ้าภาพเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก คือขอให้ไม่มีการกักตัว หรือกักตัวน้อยที่สุด ซึ่งเรื่องนี้จะนำข้อจำกัดดังกล่าว ไปหารือกับ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19(ศบค.) ว่ามีความเห็นอย่างไรต่อไป

พ่อบ้านลูกหนังไทย กล่าวเสริมว่า สำหรับแมตช์เดย์ ของฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่มจี ในนัดที่เหลือ จะเตะวันที่ 3, 7, 11 และ 15 มิถุนายน แต่ขึ้นอยู่กับว่า เจ้าภาพจะจัดแบบ 2 แมตช์ ต่อวันได้หรือไม่ หากสนามรองรับได้แค่วันละ 1 คู่ หรือเวลาถ่ายทอดสดทับกัน ก็จะมีอีกแบบคือ 3-4, 7-8, 11-12 และ วันที่ 15 มิถุนายน

โดยโปรแกรมของไทย ที่ออกมาคือวันที่ 3 มิถุนายน พบ อินโดนีเซีย, วันที่ 7 มิถุนายน พบ ยูเออี, วันที่ 11 มิถุนายน ไม่มีโปรแกรมแข่ง ก่อนจะปิดท้าย วันที่ 15 มิถุนายน พบ มาเลเซีย

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.