เอเอฟซี เผย คัดบอลโลก โซนเอเชีย เลื่อนเตะ มิ.ย. เกือบทุกกลุ่ม
สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย หรือ เอเอฟซี เปิดเผยโปรแกรมฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย ในเกมที่เหลืออยู่ของทุกกลุ่ม ปรากฏว่า มีเพียง 4 คู่เท่านั้น ที่แข่งขันตามโปรแกรมเดิมเดือนมีนาคม ขณะที่เกือบทุกกลุ่ม ยืนยันจะไปแข่งขันโปรแกรมที่เหลือทั้งหมดในเดือนมิถุนายน ณ สนามเป็นกลาง
ก่อนหน้านี้ เอเอฟซี ให้แต่ละชาติในสาย ตกลงกันเองว่า จะดำเนินการแข่งขันอย่างไรกับโปรแกรมฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก ที่เหลือ 2 ช่วง คือ เดือนมีนาคม และมิถุนายน หากคู่ไหนพร้อมที่จะแข่งขันตามโปรแกรมในเดือนมีนาคม ก็สามารถทำการแข่งขันต่อได้ แต่หากคู่ใดไม่สามารถแข่งขันได้ ให้โยกโปรแกรมทั้งหมดไปในเดือนมิถุนายน โดยแข่งขันที่สนามเป็นกลาง
ล่าสุด เอเอฟซี ยืนยันโปรแกรมของคู่ที่จะแข่งขันตามปกติในเดือนมีนาคม โดยมีเพียง 4 คู่ จากทั้ง 8 สาย ที่จะแข่งขันตามเวลาที่กำหนด ดังนี้
กลุ่ม B
30 มีนาคม 2564 เนปาล พบ ออสเตรเลีย
กลุ่ม D
25 มีนาคม 2564 ซาอุดีอาระเบีย พบ เยเมน
กลุ่ม F
25 มีนาคม 2564 ทาจิกิสถาน พบ มองโกเลีย
30 มีนาคม 2564 มองโกเลีย พบ ญี่ปุ่น (แข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่น)
ขณะที่เอเอฟซี ได้เปิดให้แต่ละชาติ ยื่นความจำนงขอเป็นเจ้าภาพในสนามกลางเรียบร้อยแล้ว โดยกำหนดช่วงเวลาแข่งขันระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม ถึง 15 มิถุนายน โดยจะมีการประกาศผลการได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 15 มีนาคมที่จะถึงนี้
ส่วนในกลุ่ม G ของทีมชาติไทย ยืนยันว่าจะไปแข่งโปรแกรมที่เหลือในเดือนมิถุนายนทั้งหมด
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.