ผู้สร้างปาฏิหาริย์แห่งไมอามี่! “นิชิโนะ” ร่วมวิ่งคบเพลิงโอลิมปิคที่ญี่ปุ่น – Goal.com
อากิระ นิชิโนะ กุนซือทีมชาติไทย ร่วมวิ่งคบเพลิง ที่จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ก่อนที่มหกรรมกีฬา โอลิมปิก เกมส์ 2020 จะเริ่มขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้
กุนซือวัย 66 ปี ไม่ได้เดินทางกลับไทยพร้อมขุนพล ช้างศึก หลังจบฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 ที่ยูเออี เนื่องจากได้รับการติดต่อให้เป็นเกียรติเข้าร่วมคณะส่งต่อคบเพลิงในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก เกมส์ 2020 หลังเคยสร้างเรื่องราว “ปาฏิหาริย์แห่งไมอามี่” จากผลงานที่เคยคุม ญี่ปุ่น U23 ชนะ บราซิล 1-0 ในศึกโอลิมปิก ปี 1998
ล่าสุด นิชิโนะ ได้ทำการวิ่งส่งต่อคบเพลิงเป็นที่เรียบร้อย พร้อมกล่าวสั้นๆ ถึง ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น ที่เตรียมไล่ล่าความสำเร็จในโอลิมปิคครั้งนี้ ในฐานะเจ้าภาพว่า “ช่วงเวลานี้เป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่ผมคิดว่านักเตะจะปรับตัวได้ ดังนั้นผมอยากให้คุณโชว์ฟอร์มออกมาให้ดีที่สุด”
Editor Picks
- ทุกสิ่งที่คุณต้องรู้ : ยูโร 2020 ใครเจอใคร จากน็อคเอาท์สู่รอบชิงชนะเลิศ
- ดาวซัลโวยูโร 2020
- โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
- IN NUMBERS : ลิโอเนล เมสซี ยิงได้กี่ประตูในชีวิตค้าแข้ง?
สำหรับ อากิระ นิชิโนะ พา ทีมชาติไทย ทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวัง ในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 เมื่อตกรอบ ในฐานะรองบ๊วยของกลุ่ม โดยมีกำหนดเดินทางกลับประเทศไทย วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ก่อนร่วมประชุมสรุปผลงานกับ สมาคมฯ ต่อไป
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.