Football Sponsored

บุรีรัมย์ อ้างเข้าใจผิด ขอโทษ , สสจ ดำเนินคดีแข้งทีมชาติไทย – Goal.com

Football Sponsored
Football Sponsored

ปราสาทสายฟ้า แถลงขอโทษ อ้างเข้าใจผิดเกี่ยวกับแนวทางการกักตัวของแข้งช้างศึกที่เพิ่งกลับมา ขณะที่ สสจ ยืนยันดำเนินการตามกฎหมาย

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ยักษ์ใหญ่โตโยต้า ไทยลีก แถลงขอโทษเกี่ยวกับเหตุการณ์ล่าสุดที่ส่งผู้เล่น ทีมชาติไทย ลงสนามอุ่นเครื่องพบกับ ขอนแก่น เอฟซี วันที่ 27 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทั้งที่กักตัวยังไม่ครบ 14 วัน หลังเดินทางกลับจากประเทศ ยูเออี จบศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564 

“เรียน แฟนบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ พี่น้องประชาชนที่เคารพ”

“จากกรณีที่มีภาพข่าวปรากฎทางสื่ออนไลน์ นักฟุตบอลสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไม่เข้ารับการกักตัว หลังจากเดินทางกลับจากการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก นั้น”

Editor Picks

  • ดาวซัลโวยูโร 2020
  • ทุกสิ่งที่คุณต้องรู้ : ยูโร 2020 ใครเจอใคร จากน็อคเอาท์สู่รอบชิงชนะเลิศ
  • โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
  • TTL Transfers : เกาะติดตลาดซื้อขายนักเตะ โตโยต้า ไทยลีก 2021-22

“สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ขอเรียนว่านักฟุตบอลทุกคนที่เดินทางกลับจากการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก ได้เข้ารับการกักตัว ตามประกาศของคณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน และ เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา จำนวน 2 ครั้ง แล้ว ไม่พบเชื้อ และขณะนี้ยังเข้ารับการกักตัวอยู่ในสถานกักกันตัว ให้ครบกำเวลาตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัดบุรีรัมย์ แจ้ง”

“กรณีที่นักกีฬาบางราย ไปลงสนามฝึกซ้อมที่สนามเขากระโดง นั้น เป็นการกระทำผิด ไม่เป็นไปตามแนวทางของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อประจำจังหวัด จริง เนื่องจากเข้าใจผิดต่อแนวทางการกักตัว ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 ให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2โดส กักตัว 7 วัน โดยไม่ทราบว่ามีประกาศฉบับใหม่ ออกมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ว่า ผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ต้องกักตัว 14 วัน ทุกกรณี ไม่มีข้อยกเว้น”

“สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ขอรับผิดทุกประการ และ ยินดีให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัดบุรีรัมย์  รวมทั้งยอมรับการดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อการควบคุมการระบาดของโรคโควิด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของคนบุรีรัมย์”

ขณะที่ สสจ. บุรีรัมย์ ก็ออกมาชี้แจงว่า

1. กรณีที่ปรากฎข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนักกีฬาสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บางคน ไม่ปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมโรค เข้าร่วมกิจกรรมฝึกซ้อมฟุตบอล ในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนดการกักตัวตามเวลาที่กฎหมายกำหนด  14 วัน คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์   ได้ตรวจสอบแล้ว พบว่ามีการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ จริง จึงได้ดำเนินการตามกฎหมาย แล้ว 

2. นักกีฬาเหล่านี้ เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ได้รับวัคซีนครบ 2 โด๊สแล้ว ก่อนเดินทางไปแข่งขันฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก และเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564 ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และได้เข้ารับตรวจหาเชื้อ ด้วยการ SWAB จำนวน 2 ครั้ง ไม่พบเชื้อ   

3. ขณะนี้ นักกีฬาที่ต้องกักตัว ยังอยู่ในสถานที่กักกันตัว ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์กำหนดไว้  ต้องกักตัวให้ครบตามกำหนดเวลา 14 วัน ซึ่งจะครบในวันที่ 30 มิถุนายน นี้

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.