Football Sponsored

‘นิชิโนะ’ เผยใช้เกม ‘อุซเบกิสถาน’ จำลองผู้เล่นดวล ‘อินโดนีเซีย’ – มติชน

Football Sponsored
Football Sponsored

‘นิชิโนะ’ เผยใช้เกม ‘อุซเบกิสถาน’ จำลองผู้เล่นดวล ‘อินโดนีเซีย’

ความเคลื่อนไหว “ช้างศึก” ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดใหญ่ ที่เก็บตัวอยู่ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เพื่อเตรียมแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 กลุ่มจี 3 เกมสุดท้าย โดยเตรียมลงอุ่นเครื่อง 2 เกมรวดกับทาจิกิสถาน ในวันที่ 29 พฤษภาคม และอุซเบกิสถาน ในวันที่ 30 พฤษภาคมนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม อากิระ นิชิโนะ หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย ได้แถลงข่าวผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ก่อนเกมการแข่งขัน โดยเปิดเผยว่า สิ่งที่วางแผนเอาไว้คือเกมกับทาจิกิสถาน จะให้นักเตะที่ไม่ได้ลงเล่นในเกมกับโอมาน ได้รับโอกาสก่อน ที่จะเจอกับอุซเบกิสถาน จะเป็นการใช้นักเตะที่ใกล้เคียงกับการลงเล่นเจออินโดนีเซีย ในเกมแรกที่จะแข่งขันวันที่ 3 มิถุนายนมากที่สุด

“จากการศึกษาอินโดนีเซียนั้น เท่าที่ทราบคือยังไม่ได้มีเกมทางการ และนักเตะชุดนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นดาวรุ่งที่ดันขึ้นมาจากชุดยู-23 และมีข้อมูลไม่มาก แต่ไม่อยากให้โฟกัสที่คู่แข่งมากนัก ให้มองที่ตัวเองและมุ่งมั่นเล่นให้เต็มที่เท่าที่จะทำได้” นิชิโนะกล่าว

ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า การนำนักเตะไปถึง 42 คน เป็นห่วงสภาพจิตใจของคนที่ไม่ได้ลงเล่นหรือไม่นั้น นิชิโนะกล่าวว่า ถึงแต่ละเกมจะได้ลงแค่ 23 คน แต่ว่านัดต่อไปอาจจะเป็นผู้เล่นชุดใหม่ทั้งหมดเลยก็ได้ ดังนั้นไม่อยากให้ทุกคนคิดว่าตัวเองไม่ได้รับเลือก อยากให้มีใจมุ่งมั่นและคิดว่าตัวเองมีโอกาสจนถึงนัดสุดท้าย และมองว่าเป็นการแข่งขันในทีม ให้พัฒนาตัวเองไปด้วยกัน
โปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง ของทีมชาติไทย ประกอบด้วย วันที่ 3 มิถุนายน พบ อินโดนีเซีย, วันที่ 7 มิถุนายน พบ ยูเออี, วันที่ 15 มิถุนายน พบ มาเลเซีย ทั้ง 3 นัดลงเล่นในเวลา 23.45 น. ถ่ายทอดสดทางไทยรัฐทีวี

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.