อินโดฯ สุดฟิตซ้อมเข้มเช้า-เย็นก่อนซดช้างศึกคัดบอลโลก3 มิ.ย. – สยามกีฬา
ทัพ “การูด้า” ทีมชาติอินโดนีเซีย ภายใต้การคุมทีมของ “ชิน แท ยัง” กุนซือชาวเกาหลีใต้ ชุดลุยศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม จี หลังจากลงสนาม 5 นัด ยังไม่มีคะแนน แต่พวกเขายังคงเต็มที่ในอีก 3 เกมสุดท้าย หลังเดินทางถึงยูเออีเป็นทีมแรกในกลุ่ม จี
ล่าสุด PSSI หรือสมาคมฟุตบอลแห่งอินโดนีเซีย ได้เปิดเผยความเคลื่อนไหวการฝึกซ้อมของทีมผ่านเว็บไซต์หลักของสมาคม โดยระบุว่า “โค้ชชิน แท ยัง ได้จับให้นักเตะลงฝึกซ้อมอย่างหนักทั้งมื้อเช้าและมื้อเย็น โดยช่วงเช้าได้ให้นักเตะเข้าโรงยิมเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของร่างกาย ส่วนช่วงเย็นจะฝึกซ้อมกันที่สนามโดยจะใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการฝึกซ้อม”
“อย่างไรก็ดีผู้เล่นปรับตัวได้อย่างรวดเร็วกับสภาพอากาศที่นี่ที่ทีอุณหภูมิที่ร้อนมาก เพราะอุณหภูมิในดูไบ อยู่ที่ประมาณ 38 องศาเซลเซียสทุกวัน แต่ทุกคนก็ปรับตัวเข้ากับอากาศได้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยตอนนี้เหลือเกมอุ่นเครื่องอีก 2 นัด ซึ่งโค้ชชิน แท ยัง ต้องการให้นักเตะพร้อมที่สุดก่อนจะลงเตะในบอลโลก 3 นัดสุดท้าย”
สำหรับอินโดนีเซีย วางคิวลับแข้งกับ อัฟกานิสถาน ในวันที่ 25 พ.ค.64 ต่อด้วยดวลกับโอมาน ในวันที่ 29 พ.ค.64 ก่อนจะเข้าสู่โปรแกรมคัดบอลโลกระหว่างวันที่ 3-15 มิ.ย.64 โดยทัพ “การูด้า” จะพบกับ ทีมชาติไทย วันที่ 3 มิ.ย.64 จากนั้นจะเจอกับ เวียดนาม วันที่ 7 มิ.ย.64 และปิดท้ายพบกับ ยูเออี วันที่ 11 มิ.ย.64 ตามลำดับ
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.