เปิดโปรแกรมคัดบอลโลก 3 นัดท้ายทีมชาติไทย หลัง AFC คอนเฟิร์มวันแน่นอนแล้ว
สมาพันธ์ฟุตบอลเเห่งเอเชีย คอนเฟิร์มโปรแกรม 3 นัดที่เหลือ ของศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือกโซนเอเชีย โดยทีมชาติไทย จะรับมืออินโดนีเซีย วันที่ 25 มีนาคม 2564 ขณะที่ 2 นัดสุดท้าย เตะมิถุนายน 2564
VNEXPRESS สื่อดังในเวียดนาม ตีข่าวว่า สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียหรือเอเอฟซี ได้ยืนยันโปรแกรมที่แน่นอน สำหรับศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม G เรียบร้อยแล้ว โดยจะแข่งขันในช่วงปลายเดือนมีนาคม และต้นเดือนมิถุนายน ปี 2564
ก่อนหน้านี้ ทางฟีฟ่าได้ออกมายืนยันว่า การแข่งขันฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก จะมีขึ้นในเดือนมีนาคม เพื่อให้โปรแกรมทั้งหมดจบทันก่อนที่จะถึงกลางปี 2022 รวมถึงกำหนดการในรอบ 12 ทีมสุดท้ายของโซนเอเชีย ที่จะต้องเริ่มแข่งขันในเดือนกันยายนปี 2021 ด้วย
สำหรับทีมชาติไทย จะมีโปรแกรมสามนัดสุดท้ายดังนี้ คือ 25 มีนาคม พบ อินโดนีเซีย (เหย้า) ต่อด้วย 7 มิถุนายน พบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เยือน) และ 15 มิถุนายน พบ มาเลเซีย (เหย้า)
ส่วนโปรแกรมทั้งหมดที่เหลืออยู่ของกลุ่ม G มีดังนี้
25 มีนาคม 2564
ไทย พบ อินโดนีเซีย
ยูเออี พบ มาเลเซีย
30 มีนาคม 2564
มาเลเซีย พบ เวียดนาม
อินโดนีเซีย พบ ยูเออี
7 มิถุนายน 2564
ยูเออี พบ ไทย
เวียดนาม พบ อินโดนีเซีย
15 มิถุนายน 2564
ไทย พบ มาเลเซีย
ยูเออี พบ เวียดนาม
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.