ลูกหนังผู้ดีจับมือบอยคอตต์โลกโซเชียล
วงการลูกหนังแดนผู้ดี จับมือบอยคอตต์งดใช้สื่อโซเชียลเป็นเวลา 4 วันในช่วงสุดสัปดาห์หน้า เพื่อแสดวการต่อต้านการเหยียดผิวนักเตะบนโลกออนไลน์ และกระตุ้นให้แพลตฟอร์มโซเชียลต่าง ๆ จัดการเรื่องนี้จริงจังมากขึ้น
อาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564 เวลา 13.32 น.
บรรดาสโมสรลูกหนังในอังกฤษ ทั้งจากศึกพรีเมียร์ลีก, ฟุตบอลลีก, วีเมนส์ ซูเปอร์ ลีก และ วีเมนส์ แชมป์เปี้ยนชิพ ประกาศจับมือกันบอยคอตต์งดใช้งานช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ตั้งแต่ 15.00 น. ของวันศุกร์ที่ 30 เม.ย. จนถึง23.59 น. ของวันจันทร์ที่ 3 พ.ค. นี้ ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อแสดงการต่อต้านการเหยียดผิวเหล่านักเตะในโลกออนไลน์ หลังมีนักเตะผิวสีหลายคนตกเป็นเหยื่อมากขึ้นในช่วงหลัง รวมถึงกระตุ้นให้แพลตฟอร์มสื่อโซเชียลต่าง ๆ ดำเนินการกำจัดเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจังมากขึ้นด้วย
ริชาร์ด มาสเตอร์ส ประธานบริหารของพรีเมียร์ลีก ระบุผ่านแถลงการณ์ว่า “การเหยียดผิวทุกรูปแบบเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ และการเหยียดผิวนักเตะในแพลตฟอร์มต่าง ๆ บนโลกโซเชียล ไม่ควรถูกปล่อยให้เกิดขึ้นต่อไป พรีเมียร์ลีก และสโมสรสมาชิกของเราขอยืนเคียงข้างวงการฟุตบอล ในการบอยคอตต์สื่อโซเชียลครั้งนี้ เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่บรรดาบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มสื่อโซเชียลต่าง ๆ ต้องจริงจังกว่านี้ในการกำจัดการเหยียดผิว เราจะไม่หยุดกระตุ้นเหล่าบริษัทโซเชียลมีเดีย และหวังว่าจะเห็นความคืบหน้าด้านนโยบายและกระบวนการที่ชัดเจนในการจัดการกับเรื่องเหล่านี้บนแพลตฟอร์มของพวกเขา”
เครดิตภาพ : REUTERS
คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่
- เห็นด้วย
0%
- ไม่เห็นด้วย
0%
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.