Football Sponsored

ทั่วโลกยอมรับ ไทยจัดแบด 3 รายการ ใบเบิกทางกีฬาไทย ในเวทีนานาชาติ

Football Sponsored
Football Sponsored

ประสบความสำเร็จ เป็นอย่างดี สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแบดมินตัน 3 รายการใหญ่ ครั้งประวัติศาสตร์ ระดับเวิลด์ ทัวร์ ซุปเปอร์ 1000 รายการระดับสูงสุดของกีฬานี้ ที่อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี ของไทย ตลอดเดือนมกราคมที่ผ่านมา ในศึก โยเน็กซ์ ไทยแลนด์ โอเพ่น โตโยต้า ไทยแลนด์ โอเพ่น และ เอชเอสบีซี บีดับเบิ้ลยูเอฟ เวิลด์ ทัวร์ ไฟนอลส์ ทุกสายตาจากทั่วโลก จับจ้องมาที่เรา

     นอกจากผลงานอันยอดเยี่ยมของนักตบลูกขนไก่ไทย นำโดย “บาส” เดชาพล กับ “ปอป้อ” ทรัพย์สิรี คู่ผสม ที่สร้างชื่อกวาด 3 แชมป์ติดต่อกัน ใน 3 สัปดาห์ แล้ว ต้องไม่ลืมว่า “กิ๊ฟ” จงกลพรรณ กิิติธารากุล กับ “วิว” รวินดา ประจงใจ หญิงคู่ ยังได้รองแชมป์ โยเน็กซ์ ไทยแลนด์ โอเพ่น มาครองอีกด้วย

     และที่สำคัญอย่างยิ่งคือไทยเราในฐานะเจ้าภาพ สามารถส่งมือเยาวชนที่ดีๆอนาคตไกล ได้สามารถ ตีกับรุ่นพี่ระดับโลก ได้แบบสนุกไม่เสียชื่อ มากกว่า 20คน ต่อไปนี้ นักกีฬาเยาวชนรุ่นนี้ จะไม่กลัวใครแล้วบนเวทีแบดระดับโลก

    ขณะเดียวกัน ไทยเรายังได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพ ประสิทธิภาพไปเรียบร้อยว่า การบริการจัดการของเรา ไม่เป็นสองรองใคร โดยเฉพาะกับมาตรการป้องกันโควิด-19 อันเข้มงวด ในชื่อ “บับเบิ้ล” ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกไปแล้ว ว่าได้ผลเป็นอย่างยิ่ง 

    สำหรับมาตรการบับเบิ้ล นักกีฬา เจ้าหน้าที่ จาก 22 ชาติ กว่า 850 คน ที่เดินทางมา รวมถึงนักกีฬาไทย ต้องเข้าพักในโรงแรมที่กำหนดไว้ และไม่สามารถออกจากบับเบิ้ลได้ เดินทางไปได้เพียงสนามฝึกซ้อม และแข่งขัน จะมีการตรวจโควิด-19 เข้มข้น ตั้งแต่ก่อนเดินทางเข้ามาไทย และมีการตรวจอีกในทุก ๆ 3 วัน 

    การเดินทางไปยังสนามฝึกซ้อม สนามแข่งขัน ใช้รถบัสประเทศละ 1 คัน สนามฝึกซ้อม จะมีผนังกั้น โดยที่แต่ละประเทศ จะซ้อมครั้งละ 45 นาที และ ทำความสะอาดทันที 15 นาที ก่อนที่ประเทศอื่นจะเข้ามาซ้อมต่อ สนามแข่งขัน ปกติ ใช้ 4 สนาม แต่ครั้งนี้ มี 3 สนาม เพื่อเว้นระยะห่าง ลดจำนวนเจ้าหน้าที่ ภายในสนามแข่งขัน จะแบ่งโซน เพื่อลดการสัมผัส นักกีฬาเปลี่ยนลูกแบดมินตัน เอง จากเครื่องบรรจุลูกข้างสนาม ส่วนการสัมภาษณ์ นักกีฬา ผู้ฝึกสอน ทำผ่านระบบออนไลน์
    
    อย่างที่ทราบกันดี มีการตรวจพบเชื้อโควิด-19 และเจ้าหน้าที่ หลายราย รวมทั้งมีการตรวจพบก่อนที่นักกีฬาจะเดินทางมาไทย ด้วย แต่นั่นก็สะท้อนว่า มาตรการที่ไทย วางไว้ ได้ผล อย่างไม่ต้องสงสัย นำมาซึ่งความปลอดภัยอย่างที่ได้เห็น  และผลจากการดำเนินการของไทย ที่ทุกฝ่ายร่วมมือกัน ทั้งสปอนเซอร์หลัก อย่าง โยเน็กซ์ และ โตโยต้า ที่สนับสนุนการแข่งขัน หนุนหลังสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ ภายใต้การนำของ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล นายกสมาคมฯ แล้ว 

    ยังมีหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนต่าง ๆ อีกมากมาย ที่ร่วมด้วยช่วยกันอย่างเต็มที่ ทั้ง สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการกงสุล กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

    คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ การกีฬาแห่งประเทศไทย กองทุนพัฒนาการกีฬาชาติ โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันบำราศนราดูร สถาบันควบคุมโรคเขตเมือง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี กรมแพทย์ทหารอากาศ สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป  และขอปรบมือชื่นชมให้กับคณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มดงานทุกท่าน ที่ทำให้การจัดการแข่งขันแบดมินตัน 3 รายการ ดำเนินการภายใต้มาตรการควบคุมโรคและพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 อย่างเคร่งครัดเข้มงวดส่งผลให้ประเทศไทย เป็นที่ยอมรับในทันทีในเวทีกีฬาโลก 

    เมื่อบรรดาองค์กรกีฬาชั้นแนวหน้าของโลก ส่งหนังสือ แสดงความยินดี และชื่นชมในความสำเร็จ มายัง คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) รองประธานสหพันธ์แบดมินตันโลก และนายกสมาคมกีฬาแบดมินตันไทย อย่างต่อเนื่อง มากมาย 

    นอกจาก โธมัส บาค ประธานไอโอซี ที่ให้คุณหญิงปัทมา ส่งรายละเอียด การจัดกีฬาในรูปแบบบับเบิ้ล ให้ จอห์น โคท ประธานคณะกรรมาธิการประสานงานโอลิมปิก โตเกียว 2020 ของไอโอซี ด้วยหวังว่าแนวทางนี้ จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับโตเกียวเกมส์ ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนก.ค.นี้ ที่ญี่ปุ่น  ยังมี ฟรานซิสโก ริกกี บิตติ ประธานสหพันธ์สมาคมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน (เอเอสโอไอเอฟ), ซีค อาหมัด อัล ฟาฮัด อัลซาบาห์ ประธานโอลิมปิกเอเซีย (โอซีเอ) ราฟาเอลเล ชิอุลลี ประธานสหพันธ์สมาคมกีฬานานาชาติ (ไกส์ฟ หรือ สปอร์ตแอคคอร์ด), เจ้าชายอับเบิรต์ ไอโอซี ประเทศโมนาโก, เจ้าชาย โจอาน บิน อามัด อัลธานี โอลิมปิกแห่งการ์ต้า โรบิน มิตเชลล์ ประธานสมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (แอนน็อค), 

    จานนี อินฟานติโน ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า)และผู้บริหารกีฬาระดับโลกอีกมากมาย  ที่ได้ชม รายการแบดมินตัน 3รายการประวัติศาสตร์ จากการถ่ายทอดสดทั่วโลก ให้การชื่นชมในการตั้งใจทำงาน ของคุณหญิงปัทมา หญิงเหล็ก ที่ต้องสู้ปัญหา ต่างๆมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     สุดท้ายผู้ใหญ่ ทุกฝ่ายก็ให้ความเมตตา สนับสนุน จนผ่านไปด้วยดี และชื่อเสียงทั้งหมดก็ตกมาสู่ประเทศไทย สามารถฝ่าวิกฤติเอาชนะโควิด-19 ได้สำเร็จ ถือเป็นสัญญาณบวก เมื่อองค์กรกีฬาโลก รับรู้ รับทราบ ก็ถือว่าเป็นใบเบิกทางครั้งสำคัญของประเทศไทย ของกีฬาชนิดต่าง ๆ ของไทย ในเวทีระดับโลก ก็ว่าได้ 

    จากนี้ไป หากกีฬาชนิดไหน หรือไทย ต้องการจัดมหกรรมกีฬาใหญ่ ระดับไหน ต้องเรียกว่า สามารถทำได้ง่ายขึ้น เมื่อมีคุณหญิงปัทมา ช่วยกรุยทางไว้ให้แล้ว  แถมบวกความเชื่อใจ ไว้ใจ ยิ่งในภาวะโรคระบาดโควิดหนัก ไทยเรายังสามารถจัด การแข่งขันระดับโลก แบบทั่วโลกตะลึง ที่สามารถ ให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างปลอดภัย ทุกอย่างที่จัดวันนี้ นับว่ามีผลต่ออนาคต โดยเฉพาะกับ การที่ไทยเราเสนอตัวจัดกีฬาโอลิมปิก เยาวชน หรือ ยูธโอลิมปิก ปี 2030 กับไอโอซี ก็มีโอกาสที่จะได้รับความไว้วางใจ สูงขึ้นไปด้วย เรียกได้ว่า รัฐบาลลงทุน เอกชน อย่าง โยเน็กซ์​ และ โตโยต้า ช่วยหนุนจัดแบดมินตันครั้งที่ผ่านมา ถือว่าคุ้มค่า มหาศาล ช่วยกีฬาอื่น ๆ ได้อีกมากเลยทีเดียว

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.