Football Sponsored

‘มหาวิทยาลัยกีฬาชาติยะลา’ ดันช้างเผือกปันจักสีลัตสู่ทีมชาติ

Football Sponsored
Football Sponsored

‘มหาวิทยาลัยกีฬาชาติยะลา’ ดันช้างเผือกปันจักสีลัตสู่ทีมชาติ

ผศ.จงรัก เขี้ยวแก้ว รองอธิการบดี ม.การกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา เปิดเผยว่า ทางมหาวิทยาลัยเป็นอีกหนึ่งสถาบันที่มีการสนับสนุนในด้านการกีฬาอย่างต่อเนื่อง และมีนักกีฬาหลายชนิดกีฬาที่ประสบความสำเร็จในระดับชาติ และก้าวไปเป็นนักกีฬาทีมชาติไทย โดยล่าสุด เริ่มปี 2564 นี้ ทางสถาบันได้มีการจัดกิจกรรมวันสถาปนามหาวิทยาลัย ซึ่ง มีศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน คณะครู อาจารย์และบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ อย่างอบอุ่น ทำให้หวนนึกถึงสมัยเป็นวิทยาลัยพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา และก้าวมาเป็นมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ที่ผ่านมา ทาง มหาวิทยาลัยได้สร้างเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางด้านการศึกษาที่มีอยู่ทั่วในภูมิภาค และบุคลากรทางด้านการกีฬาทึ่ทำให้สังคมจับต้องได้และมองเห็นความเป็นมหาวิทยาลัยการกีฬามายิ่งขึ้น ซึ่งจากอดีตถึงปัจจุบันมีนักกีฬาระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียง มีผลงานเชิงประจักษ์ เป็นที่ยอมรับอย่างมากมาย อาทิ กรีฑา พันเอก(หญิง) พิเศษ รัตนใจ ยืนยาว / ฟุตบอล พ.ต.อ.อนันต์ ทองสุข, นายพงศธร เทียบทอง, นายวินัย สุนทรวาที, นายวินิจ สุวรรณนัง, นายบุญเลิศ เอี่ยวเจริญ / แฮนด์บอล สมรรถชัย คันธมาทน์ และอีกหลายๆ คน

“อย่างไรก็ตามยังมีอีกหนึ่งชนิดกีฬาที่มีผลงานเชิงประจักษ์เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกคือกีฬาปันจักสีลัต เห็นได้จากการที่หลายๆประเทศส่งนักกีฬาเข้ามาเก็บตัวที่นี่ ที่ประเทศไทย โดยเฉพาะที่ ม.การกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา แห่งนี้ เช่น อังกฤษ, เยอรมัน, ฝรั่งเศล, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, แคนาดา, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์”

ผศ.จงรัก กล่าวต่อว่า ผลสัมฤทธิ์จากการแข่งขันปันจักสีลัตแทบทุกรายการในระดับนานาชาติ จะมีนักกีฬาที่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมแข่งขันและได้รับรางวัลมาโดยตลอด อาทิ อับดุลเลาะ มะหลี, ประสิทธิ์ หว่าหลำ, อาดีลัน เจ๊ะเม็ง, สุรชาติ เป๊าะมะ, ซาบีดี สาและ และหลายต่อหลายคนด้วยกันที่มิได้เอ่ยนาม รวมทั้งคณะอาจารย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ผู้ฝึกสอน นักวิทยาศาสตร์การกีฬา รวมทั้งปัจจัยอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น สระว่ายน้ำ โรงฝึก ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาฯลฯ ทั้งนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการรองรับนักกีฬาชนิดต่างๆ เข้ามาศึกษา สุดท้ายต้องขอขอบคุณนโยบาย 1 วิทยาเขต 1 ชนิดกีฬา ที่เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนให้ วิทยาเขตยะลามีผลงาน ผลผลิตเป็นทึ่ยอมรับและเป็นที่รู้จักของหลายประเทศทั่วโลก

“ในอนาคตข้างและต่อจากนี้เป็นต้นไปทางมหาวิทยาลัยจะมีการสนับสนุนและส่งเสริมทางด้านการกีฬาอย่างต่อเนื่องในทุกๆ กีฬา ผมพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาทุกๆ ด้าน ของทุกกีฬาที่มีการส่งเสริมในมหาวิทยาลัยของเรา โดยเฉพาะการสนับสนุนและผลักดันให้นักกีฬาของมหาวิทยาลัยของเราให้ก้าวไปติดทีมชาติไทยในอนาคตข้างหน้า โดยเฉพาะกีฬาปันจักสีลัต”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.