“แฟนหงส์แดง” เดือดดาล ชี้เป้า 2 ตัวการ ทำทีมแพ้ไบรจ์ตัน กระเด็นร่วงเอฟเอคัพ
วันที่ 30 ม.ค. 66 ควันหลงจากศึกฟุตบอล เอฟเอ คัพ รอบ 4 เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่ง “หงส์แเดง” ลิเวอร์พูล พลาดท่าบุกมาแพ้ “นกนางนวล” ไบรจ์ตัน ไป 1-2 กระเด็นตกรอบไปเป็นที่เรียบร้อย
ทั้งนี้ หลังจบเกมแฟนบอลลิเวอร์พูลในโลกโซเชียล ออกมาแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย โดยมุ่งเป้าไปที่ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์ อาร์โนลด์ และ โจ โกเมซ ที่ทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ มีส่วนทำให้ทีมเสีย 2 ประตูในเกมนี้
โดยในรายของ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์ อาร์โนลด์ ถูกสับแหลกว่าไม่สามารถรับมือ คาโอรุ มิโตมะ ปีกของไบรจ์ตันได้เลย โดนเลี้ยงผ่านแบบง่ายๆ นอกจากนี้เขายังเป็นคนที่โหม่งสกัดไม่ดี จนบอลมาเข้าทาง ทาริค แลมพ์ตีย์ ที่ยิงไกล และเป็น ลูอิส ดังค์ ที่สะกิดเปลี่ยนทางบอลเข้าประตูไปให้ ไบรจ์ตัน ตีเสมอ 1-1
ส่วน โจ โกเมซ โดนวิจารณ์หลังพลาดท่าโดน คาโอรุ มิโตมะ หลอกว่าจะยิง ก่อนแตะหลบแล้วดีดเข้าไปตุงตาข่าย และกลายเป็นประตูชัยของไบรจ์ตันในเกมนี้
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.