Football Sponsored

เปิดประวัติ “เปเล่” ราชาลูกหนังโลก เจ้าของแชมป์ “เวิลด์ คัพ” 3 สมัย ผู้ล่วงลับ

Football Sponsored
Football Sponsored

ก่อนหน้านี้ เปเล่ ต่อสู้กับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มาตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายนปี 2021 และเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เปเล่ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล โดยที่ก่อนเข้ารับการรักษาตัวเขาติดเชื้อ โควิด-19 ด้วย ทว่าเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ตกเป็นข่าว ถูกย้ายไปแผนกฉุกเฉินเป็นการด่วน (การดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้าย) ภายหลังที่ทีมแพทย์หยุดทำเคมีบำบัดหลังร่างกายไม่ตอบสนองเพื่อต่อสู้กับมะเร็งลำไส้ หลังจากที่ตำนานวัย 82 ปี เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล ซึ่งเมื่อสองวันก่อนมีกระแสข่าวออกมาว่าอาการของ เปเล่ กำลังอยู่ในขั้นวิกฤติก่อนที่จะจากไปแบบไม่มีวันกลับในวันนี้ (30 ธ.ค. 65)

ประวัติ เปเล่

ชื่ออย่างเป็นทางการ : แอดสัน อารันเตส โด นาสซิเมนโต

เกิดวันที่ : 23 ตุลาคม 1940 (อายุ 82 ปี)

สถานที่เกิด : เตรส โคราซอส, ประเทศบราซิล

ส่วนสูง : 1.74 เมตร (5 ฟุต 8 นิ้วครึ่ง)

ทีมชาติ : บราซิล (แขวนสตั๊ดแล้ว)

ตำแหน่ง : กองหน้า

ผลงานในระดับสโมสร

1956 – 1974 ซานโตส : ลงเล่น 636 นัด 618 ประตู

1975–1977 นิวยอร์ก คอสมอส : ลงเล่น 64 นัด 37 ประตู

รวมผลงานในระดับสโมสร : ลงเล่น 700 นัด 655 ประตู

ผลงานในระดับทีมชาติ

1957–1971 ทีมชาติบราซิล : ลงเล่น 92 นัด 77 ประตู

เกียรติประวัติสำคัญ

แชมป์ ฟุตบอลโลก 3 สมัย ปี 1958, 1962, 1970

แชมป์ ลีกบราซิล 6 สมัย

แชมป์ โคปา ลิเบอร์ตาดอเรส 2 สมัย 

รางวัล นักเตะยอดเยี่ยมแห่งศตวรรษของฟีฟ่า

รางวัล ลูกบอลทองคำฟุตบอลโลก 1970

– รางวัลลอรีอุส เวิลด์ สปอร์ต อวอร์ดส์ : ปี 2000

– เจ้าของสถิตินักเตะที่คว้าแชมป์ ฟุตบอลโลก ที่อายุน้อยที่สุดด้วยวัย 17 ปี 239 วัน

– แฮตทริกมากที่สุดตลอดกาล 92 ครั้ง

– นักฟุตบอลแห่งศตวรรษ : ปี 2000

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.