Football Sponsored

เปิด 3 สถิติที่ “โครเอเชีย” กับ “บราซิล” แพ้ทางอีกฝ่าย ก่อนเกมฟุตบอลโลก 2022 รอบ 8 ทีม

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 9 ธันวาคม 2565 เปิด 3 สถิติที่น่าสนใจก่อนเกมฟุตบอลโลก 202 รอบ 8 ทีม คู่แรกของคืนนี้ 22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ระหว่าง “รองแชมป์เก่า” ทีมชาติโครเอเชีย พบกับ “แชมป์สูงสุด 5 สมัย” ทีมชาติบราซิล

1. บราซิล ยังไม่เคยแพ้ โครเอเชีย ตลอด 4 ครั้งที่พบกันในทุกรายการ (ชนะ 3 เสมอ 1)

– 17 สิงหาคม ปี 2005 (นัดกระชับมิตร) เสมอ 1-1

– 13 มิถุนายน ปี 2006 (รอบแบ่งกลุ่ม นัดแรก กลุ่มเอฟ) บราซิล ชนะ 1-0

– 12 มิถุนายน ปี 2014 (รอบแบ่งกลุ่ม นัดแรก กลุ่มเอ) บราซิล ชนะ 3-1

– 3 มิถุนายน ปี 2018 (นัดกระชับมิตร) บราซิล ชนะ 2-0

2. นับตั้งแต่ชนะ เยอรมนี 2-0 ในฟุตบอลโลก 2022 รอบชิงชนะเลิศ บราซิล ก็แพ้ทีมจากยุโรปทั้ง 5 ครั้งในรอบน็อกเอาต์ ของศึกเวิลด์คัพ

ฟุตบอลโลก 2006 (รอบ 8 ทีม) แพ้ ฝรั่งเศส 0-1

ฟุตบอลโลก 2010 (รอบ 8 ทีม) แพ้ เนเธอร์แลนด์ 1-2

ฟุตบอลโลก 2014 (รอบรองชนะเลิศ) แพ้ เยอรมนี 1-7

ฟุตบอลโลก 2014 (รอบชิงอันดับ 3) แพ้ เนเธอร์แลนด์ 0-3

ฟุตบอลโลก 2018 (รอบ 8 ทีม) แพ้ เบลเยียม 1-2

3. โครเอเชีย แพ้ชาติจากอเมริกาใต้ถึง 4 ครั้ง จาก 5 เกมในฟุตบอลโลก

ฟุตบอลโลก 1998 (รอบแบ่งกลุ่ม นัดสุดท้าย กลุ่มเอช) แพ้ อาร์เจนตินา 0-1

ฟุตบอลโลก 2002 (รอบแบ่งกลุ่ม นัดสุดท้าย กลุ่มจี) แพ้ เอกวาดอร์ 0-1

ฟุตบอลโลก 2006 (รอบแบ่งกลุ่ม นัดแรก กลุ่มเอฟ) แพ้ บราซิล 0-1

ฟุตบอลโลก 2014 (รอบแบ่งกลุ่ม นัดแรก กลุ่มเอ) แพ้ บราซิล 1-3

ฟุตบอลโลก 2018 (รอบแบ่งกลุ่ม นัดที่ 2 กลุ่มดี) ชนะ อาร์เจนตินา 3-0

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.