เมาธ์มอยบอลโลก : อย่างนี้นี่เอง
เมาธ์มอยบอลโลก : อย่างนี้นี่เอง
ทุกๆ เกมที่อาร์เจนตินาลงเตะฟุตบอลโลก ชาวอาร์เจนไตน์ทั้งประเทศก็มารวมตัวกันตามที่ต่างๆ เพื่อให้กำลังใจทีมชาติตัวเอง แต่ในอีกมุมโลกก็เป็นบรรยากาศเดียวกัน ที่บังคลาเทศบรรยากาศไม่ต่างจากอาร์เจนตินาเลย
หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมชาวบังคลาเทศถึงเชียร์ทีมของ ลิโอเนล เมสซี่ กันเหมือนบ้านเกิดของตัวเอง และมันไม่เพิ่งเกิดขึ้น แต่การเป็นเอฟซีทีมฟ้า-ขาว ของชาวบังคลาเทศมีมาตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1986 ที่ประเทศเม็กซิโก ซึ่งก็มี ดิเอโก้ มาราโดน่า นำทัพในยุคนั้น
สาเหตุมาจากการที่บังคลาเทศเป็นอาณานิคมของอังกฤษในยุคนั้น และคนพื้นเมืองก็ไม่ได้ชอบผู้ปกครองที่มารุกราน ประกอบกับช่วงนั้นอาร์เจนตินามีปัญหาเรื่องการครอบครองหมู่เกาะฟอล์กแลนด์กับอังกฤษ จึงเลือกข้างไปอยู่กับอาร์เจนตินาทั้งเรื่องการเมืองและเรื่องฟุตบอลเสียเลย
ถึงว่าบรรยากาศที่กรุงธากากับกรุงบัวโนสไอเรส คึกคักไม่ต่างกัน ทั้งๆ ที่ห่างกัน 17,000 กม.เลยทีเดียว
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.