Football Sponsored

TOP 5 ประตูที่เร็วที่สุดตลอดกาลในฟุตบอลโลก | Goal.com ภาษาไทย

Football Sponsored
Football Sponsored

Ritabrata Bannerjee

|

ลูกยิงเร็วฟ้าผ่าที่ ฮาคาน ซูเคอร์ ตำนานดาวยิงตุรกี ยิงใส่เกาหลีใต้ในปี 2002 เร็วเป็นอันดับที่เท่าไรในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก?

ฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ จะเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ ที่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายถูกจัดขึ้นในทวีปเอเชีย นับตั้งแต่การเป็นเจ้าภาพร่วมของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในฟุตบอลโลก 2002

ฉากจำมากมายเกิดขึ้นในฟุตบอลโลกครั้งแรกของศตวรรษที่ 21 หนึ่งในนั้นคือประตูเร็วสุดขีดของ ‘คิง ฮาคาน’ ฮาคาน ซูเคอร์ ตำนานดาวยิงทีมชาติตุรกี ที่ซัดใส่เกาหลีใต้เจ้าภาพร่วมในนัดชิงอันดับสาม ใช้เวลาตั้งแต่เริ่มเขี่ยลูกจนบอลเข้าประตูไปเพียง 11 วินาทีเท่านั้น

และไม่ใช่เพียงซูเคอร์ แต่ 5 ประตูที่ยิงเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลกนั้น ล้วนยิงได้ในเวลาไม่ถึงนาทีทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นประตูของคลินท์ เดมพ์ซีย์ แนวรุกอเมริกันฮีโร่ ที่ซัดใส่กานาในปี 2014 หรือประตูทีเผลอที่ไบรอัน ร็อบสัน ยิงทีมชาติฝรั่งเศสในปี 1982

นี่คือ 5 ประตูที่เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก

  • Getty

    ฮาคาน ซูเคอร์

    ทีมชาติตุรกี

    คู่แข่ง: เกาหลีใต้, นัดชิงอันดับสาม

    ปีแข่งขัน: 2002

    ใช้เวลา: 11 วินาที

  • Czech Football National Team Twitter

    วาคลาฟ มาเซ็ค

    ทีมชาติเช็กโกสโลวาเกีย(สาธารรัฐเช็ก)

    คู่แข่ง: ยูโกสลาเวีย, รอบรองชนะเลิศ

    ปีแขงขัน: 1962

    ใช้เวลา: 16 วินาที

  • Twitter

    แอร์นสต์ เลห์เนอร์

    ทีมชาติเยอรมันตะวันตก

    คู่แข่ง: ออสเตรีย, นัดชิงที่สาม

    ปีแข่งขัน: 1934

    ใช้เวลา: 24 วินาที

  • ฟุตบอล

    ไบรอัน ร็อบสัน

    ทีมชาติอังกฤษ

    คู่แข่ง: ผรั่งเศส, รอบแบ่งกลุ่ม

    ปีแข่งขัน: 1982

    ใช้เวลา: 27 วินาที

  • Getty

    คลินท์ เดมพ์ซีย์

    ทีมชาติสหรัฐอเมริกา

    คู่แข่ง: กานา, รอบแบ่งกลุ่ม

    ปีแข่งขัน: 2014

    ใช้เวลา: 30 วินาที

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.