Football Sponsored

อยากไปดูฟุตบอลโลกที่กาตาร์ต้องใช้งบเท่าไหร่ ?

Football Sponsored
Football Sponsored
อยากไปดูฟุตบอลโลกที่กาตาร์ต้องใช้งบเท่าไหร่ ?

โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักลงทุนชาวสหรัฐฯ ประเมินค่าใช้จ่ายสำหรับแฟนบอลที่ต้องการเดินทางไปชมฟุตบอลโลกที่กาตาร์

อีกเพียง 19 วันฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้ายที่กาตาร์ก็จะเปิดฉากอย่างเป็นทางการแล้ว แม้ว่านี่เป็นการจัดฟุตบอลโลกที่มีประเด็นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ความพร้อมของเจ้าภาพ รวมไปถึงค่าใช้จ่าย ที่ว่ากันว่านี่เป็นบอลโลกที่แฟนบอลต้องจ่ายแพงที่สุดครั้งหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพื่อเดินทางไปชมในสนาม

เจสัน ฮัลล์ นักลงทุนชาวอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทบรอดทรี พาร์ทเนอร์ส และ โอเพ่น ซอร์ส คอนเนกชั่น บริษัทการเงินและไฟแนนซ์ในสหรัฐอเมริกา

“แมนฯซิตี้” แชมป์ 11 คนแรกมูลค่าสูงสุดในโลก

“ยูเครน” ร้องฟีฟ่าแบน “อิหร่าน” พ้นบอลโลก

บช.น. ซ้อมรถนำขบวน เอเปค แจ้งเลี่ยงเส้นทางช่วง 3 ทุ่มถึงตี 2

ซึ่งเป็นแฟนบอลตัวยง ได้ประเมินค่าใช้จ่ายต่อคนที่จะต้องใช้สำหรับการไปชมฟุตบอลโลกที่กาตาร์ตลอดระยะเวลาราว 1 เดือน ทั้งค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก อาหาร และบัตรเข้าชมการแข่งขัน ตกคนละ 9,600 ดอลลาร์ หรือประมาณ 365,000 บาท โดยแบ่งเป็นค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับประมาณ 1,500 ดอลลาร์ หรือ 56,000 บาท ค่าบัตรเข้าชม 3 นัด ตก 500 ดอลลาร์ หรือ 19,000 บาท

ด้าน เดลี เมล สื่ออังกฤษ เทียบค่าตั๋วเข้าชมในสนามว่าปีนี้แพงกว่าบอลโลกที่รัสเซียถึง 46 เปอร์เซ็นต์ แต่ถึงราคาสูงก็ขายหมดเกลี้ยงแล้ว หากมีแฟนบอลคืนตั๋วระหว่างนี้ ฟีฟ่า จะนำกลับมาขายใหม่ ขณะที่ แอชลีย์ บราวน์ ประธานสมาคมแฟนบอลทีมชาติอังกฤษ เผยว่านอกจากค่าใช้จ่ายที่แพงแล้ว การละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าภาพก็เป็นปัจจัยที่ทำให้หลายคนตัดสินใจไม่ไปเชียร์ติดขอบสนามในครั้งนี้

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline


Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.