Football Sponsored

ต้องใช้เงินเท่าไรกว่าจะได้ไปดู 'ฟุตบอลโลก 2022'

Football Sponsored
Football Sponsored

ต้องใช้เงินเท่าไรกว่าจะได้ไปดู ‘ฟุตบอลโลก 2022’

ฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม ถูกเรียกว่าเป็นเวิลด์คัพที่แฟนบอลอาจจะต้องจ่ายเงินไปร่วมชมร่วมเชียร์ถึงขอบสนามแพงที่สุดเท่าที่เคยมีมา จนทำให้หลายคนถอดใจไปแล้ว

สาเหตุหลักๆ มาจากการที่โรงแรมที่พักที่รองรับนักท่องเที่ยวและแฟนบอลที่ไม่เพียงพอ ทำให้ราคาพุ่งกระฉูดไปหลายเท่า แม้แต่ครอบครัวของนักเตะก็ยังต้องวิ่งวุ่นหาที่พักเพื่อจะได้ไปเชียร์คุณพ่อ คูณแฟน คุณลูก คุณสามี ลงเตะ

“โคโนโตเซีย” บริษัททางการเงินในโปแลนด์ ได้ทำการสำรวจค่าใช้จ่ายที่แฟนบอลจะต้องใช้ในการดูบอลโลกที่กาตาร์ว่า เรื่องตั๋วเข้าชมที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ รอบแรกอยู่ที่ 70-220 ดอลลาร์สหรัฐ(2,663.50-8,371 บาท) และในรอบน็อกเอาต์อยู่ที่ 600-1,600 ดอลลาร์สหรัฐ(22,830-60,880 บาท) แต่สำหรับแฟนบอลท้องถิ่นจะซื้อในราคาที่ถูกกว่าแฟนบอลต่างประเทศ

ส่วนตั๋วรอบชิงชนะเลิศ “เดลี่เมล” สื่ออังกฤษ รายงานว่า ราคาค่างวดพุ่งสูงกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้วที่รัสเซียถึง 46 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตอนนั้นค่าตั๋วที่ขายอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐ(41,855 บาท) อย่างไรก็ตามถึงตั๋วจะแพงแต่ก็ขายหมดเกลี้ยงไปแล้ว หลังจากนี้สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า) จะเอาบัตรที่แฟนบอลคืนกลับมาเพราะไม่สามารถไปชมได้ กลับมาขายใหม่

โคโนโตเซียประเมินค่าใช้จ่ายสำหรับ 2 คนในการเดินทางและใช้ชีวิตที่กาตาร์ 10 วัน รวมค่าตั๋วเครื่องบินจากนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ค่าที่พัก ค่าเช่ารถ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ประเมินแบบต่ำสุดและประหยัดที่ 5,400 ดอลลาร์สหรัฐ(205,470 บาท) เฉลี่ยคนละ 2,700 ดอลลาร์สหรัฐ(102,735 บาท)

อย่างไรก็ตาม “ฮัลล์ ไฟแนนเชียล แพลนนิ่ง” ได้ประเมินว่าค่าใช้จ่ายที่แฟนบอลต้องใช้ในการไปดูบอลโลกครั้งนี้ สูงถึง 9,600 ดอลลาร์สหรัฐ(365,280 บาท) ต่อคน โดยให้เหตุผลว่า เพราะตั๋วเครื่องบินและที่พักมีความต้องการเยอะมาก ราคาก็พุ่งขึ้นแบบคาดไม่ถึง ที่สำคัญแฟนบอลต้องการชมการแข่งขันในรอบน็อกเอาต์มากกว่ารอบแบ่งกลุ่ม

“Booking.com” บริษัทจองตั๋วเครื่องบินและที่พักชื่อดัง ประเมินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปชมเกมรอบน็อกเอาต์ รวมระยะเวลา 7 วัน ในการเดินทางจากนิวยอร์ก อยู่ที่ 4,600-18500 ดอลลาร์สหรัฐ(175,030-703,925 บาท) แล้วแต่ความหรูหราสะดวกสบาย แต่ในราคาดังกล่าวไม่รวมค่าบัตรเช้าชมและค่าใช้จ่ายระหว่างอยู่ที่กาตาร์

ส่วน กาตาร์ แอร์เวย์ส สายการบินประจำชาติของเจ้าภาพ ออกแพคเกจการเดินทางแบบสะดวกสบาย ทั้งค่าตั๋วเครื่องบิน รวมที่พัก ตั๋วเข้าชม เริ่มที่ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐ(133,175 คน) ไปจนถึง 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ(266,350 บาท)

ค่าที่พักสำหรับแฟนบอลที่แบกเป้ไปเอง ไม่ซื้อทัวร์จากบริษัทใหญ่ มีที่พักในหมู่บ้านแฟนบอลที่จัดตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีบ้านชั่วคราวให้นอนได้ 2 คน อยู่ที่ 200 ดอลลาร์สหรัฐ(7,610 บาท) ต่อคืน ซึ่งก็ถูกจองเต็มไปแล้ว

แอชลีย์ บราวน์ ประธานสมาคมแฟนบอลทีมชาติอังกฤษ กล่าวถึงการเดินทางของแฟนบอลอังกฤษและเวลส์ที่ทีมได้ไปลุยฟุตบอลโลก 2022 ว่า ค่าตั๋วเข้าชมตั้งแต่รอบแรกไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ต้องใช้เงิน 1,200 ปอนด์(52,860 บาท) เป็นอย่างน้อย ไม่รวมเงินค่าใช้จ่ายอื่นๆ เมื่อดูจากค่าที่พัก ค่าเครื่องบินที่สูงมากๆ และเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกาตาร์ ถือเป็นกำแพงใหญ่มากๆ ในการขวางทางไม่ให้แฟนบอลที่มีรายได้ปกติไปเชียร์ทีม

“ผมอาจจะต้องเลือกใช้เงินที่จะไปดูบอลโลกไปทำอย่างอื่นในช่วงเวลาที่ยากเย็น และเป็นปีที่เงินหายากแบบนี้” บราวน์กล่าว

โรนัน อีเวน ผู้อำนวยการกลุ่มแฟนบอลยุโรป บอกว่า ปัญหาของทัวร์นาเมนต์นี้คือ ฝ่ายจัดการแข่งขันไม่ได้สนใจแฟนบอลต่างชาติที่เดินทางเข้าไป เพราะค่าใช้จ่ายต่างๆ มันสูงเกินไปกว่าที่แฟนบอลวางค่าใช้จ่ายไว้

ถึงจะบ่นกันขนาดไหน สุดท้ายแล้วพลังแห่งฟุตบอลโลกก็ยังคงดึงดูดให้แฟนลูกหนังทุ่มเงินเพื่อไปเชียร์ทีมรักแน่นสนามเหมือนเดิม

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.