Football Sponsored

นักเคลื่อนไหวร้องฟีฟ่าตัด 'อิหร่าน' พ้นบอลโลก 2022 เหตุไม่ให้ผู้หญิงเข้าสนามบอล

Football Sponsored
Football Sponsored

นักเคลื่อนไหวร้องฟีฟ่าตัด ‘อิหร่าน’ พ้นบอลโลก 2022 เหตุไม่ให้ผู้หญิงเข้าสนามบอล

มาซิห์ อาลิเนจัด นักข่าวและนักเคลื่อนไหวชาวอิหร่าน ได้ร่วมมือกับบริษัทกฎหมายรุยซ์-เอร์ต้า ได้ส่งหนังสือเรียกร้องให้สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ตัดทีมชาติอิหร่านออกจากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย ที่ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน-18 ธันวาคม จากการที่รัฐบาลอิหร่านฝ่าฝืนข้อบังคับของฟีฟ่า ที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงชาวอิหร่านเข้าไปชมฟุตบอลในสนาม

อาลิเนจัดและรุยซ์-เอร์ต้าได้ออกแถลงการณ์ว่า “ฟีฟ่าไม่ควรให้อิหร่านร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก เพราะเป็นประเทศที่จำกัดสิทธิของผู้หญิง นักกีฬาและเด็ก จนกว่าที่อิหร่านจะมีการปรับเปลี่ยนกฎที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ผู้หญิงไม่สามารถเข้าสนามฟุตบอลได้ และถูกตัดออกจากระบบนิเวศของฟุตบอลทั้งหมด ซึ่งขัดต่อกฎของฟีฟ่าข้อที่ 19 อย่างชัดเจน”

Iranian journalist and women’s rights activist @AlinejadMasih says in collaboration with a Spanish law firm, “a formal request has been sent to @FIFAcom to suspend Iran’s Football Federation with immediate effect, and therefore effectively ban them from the 2022 World Cup.” pic.twitter.com/mSuBJoD88d

— Iran International English (@IranIntl_En) October 19, 2022

ประชาชนชาวอิหร่านออกมาประท้วงรัฐบาลในหลายเมืองทั่วประเทศ รวมทั้งในโลกออนไลน์ หลังจากที่มาห์ซา อามินี หญิงสาวชาวเคิร์ดวัย 22 ปี ถูกตำรวจจับกุมจากการที่ไม่สวมฮิญาบในพื้นที่สาธารณะ และไม่ปกปิดแขนขาอย่างเหมาะสม หลังจากนั้นอามินีเสียชีวิตหลังจากการถูกจับกุม 3 วัน ทำให้สงสัยว่าตำรวจได้ทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บและเสียชีวิต

ทั้งนี้ อิหร่านอยู่ในกลุ่มบี ร่วมกับอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, เวลส์

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.