Football Sponsored

เลิฟรับอินทรีเหล็กพลาดแยะทำพ่ายคัดบอลโลกครั้งแรกในรอบ 20 ปี สื่อเบียร์จวกน่าอับอาย

Football Sponsored
Football Sponsored
(Photo by Ina Fassbender / AFP)

เลิฟรับอินทรีเหล็กพลาดแยะทำพ่ายคัดบอลโลกครั้งแรกในรอบ 20 ปี สื่อเบียร์จวกน่าอับอาย

โยอาคิม เลิฟ กุนซือทีมชาติเยอรมนี กล่าวภายหลังลูกทีมพลิกพ่ายนอร์ธ มาซิโดเนีย คาถิ่น 1-2 ในศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ซึ่งเป็นการพ่ายแพ้ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกครั้งแรกในรอบ 20 ปีของอินทรีเหล็ก ว่า เป็นเรื่องที่น่าผิดหวังมากๆ เกมนี้ลูกทีมเล่นผิดพลาดเยอะแยะไปหมด และไม่สามารถเจาะแนวรับที่ถอยไปตั้งรับลึกของนอร์ธ มาซิโดเนีย ได้ กลายเป็นเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายเล่นเกมสวนกลับได้

ด้านสื่อเยอรมนีพากันประโคมข่าวและวิจารณ์ฟอร์มการเล่นของทีมอินทรีเหล็กกันถ้วนหน้า โดย “บิลด์” สื่อใหญ่เมืองเบียร์พาดหัวในเว็บไซต์ว่า “น่าอับอาย!” ขณะที่ “คิกเกอร์” นิตยสารฟุตบอลบอกว่า “เป็นเซอร์ไพรส์ที่เจ็บปวดมาก”

สำหรับสถานการณ์ของทีมในขณะนี้ อยู่อันดับ 3 ของกลุ่มเจ มี 6 คะแนน จาก 3 นัด ตามหลังอาร์เมเนีย จ่าฝูงที่ชนะรวดอยู่ 3 แต้ม และมีแต้มเท่านอร์ธ มาซิโดเนีย แต่ผลต่างประตูแย่กว่า

ขณะที่อิลคาย กุนโดกัน กัปตันทีมเฉพาะกิจในนัดนี้ ยอมรับว่า เรื่องแบบนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น รู้สึกราวกับว่านอร์ธ มาซิโดเนีย ได้โอกาสเข้าใกล้ปากประตูของเยอรมนี 2 ครั้ง และก็เป็นประตูทั้ง 2 ครั้ง เราปล่อยให้อีกฝ่ายทำประตูง่ายเกินไป ขณะที่ทีมมีโอกาสยิงประตูหลายครั้ง แต่ทำได้ลูกเดียว ที่เจ็บปวดคือ หลังจากนี้จะไม่มีแมตช์ทีมชาติแล้วจนกว่าจะถึงช่วงอุ่นเครื่องก่อนยูโร 2022 ในเดือนมิถุนายน ทุกคนต้องพยายามเรียกความฟิตและฟอร์มเก่งกลับมาให้ได้ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม เพื่อเตรียมตัวสำหรับศึกยูโร

ทั้งนี้ ครั้งสุดท้ายที่อินทรีเหล็กแพ้ในเกมคัดเลือกบอลโลก คือแมตช์ที่โดนอังกฤาถล่ม 5-1 เมื่อปี 2001

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.